วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

รักษาชาติ รักษาแผ่นดิน


คลิกที่ภาพ เพื่อดูขนาดภาพมาตราฐาน
"…..คนไทย รักษาชาติ รักษาแผ่นดิน เป็นปึกแผ่นมั่นคงมาได้ ด้วยสติปัญญาความสามารถ และด้วยคุณความดี อิสรภาพ เสรีภาพ ความร่มเย็นเป็นสุข ตลอดจนความเจริญทุกอย่างที่มีอยู่บัดนี้ เราทั้งหลายในปัจจุบัน จึงต้องถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบอย่างสำคัญ ในอันที่จะรักษาคุณความดี พร้อมทั้งจิตใจที่เป็นไทยไว้ให้มั่นคงตลอดไป….."
(พระราชดำรัส ในการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธี เฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธ.ค.2521)

พระผู้ทรงอนุรักษ์ดิน

เนื่องจากการชะล้างพังทลายของหน้าดิน จนอินทรียวัตถุและแร่ธาตุ ซึ่งเป็นอาหารของพืชถูกทำลายไปทำให้ดินไม่มีคุณภาพดีพอสำหรับทำเกษตรกรรม ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ดินถูกชะล้างพังทลายไปนั้น เกิดจากการบุกรุกทำลายป่าทำให้ดินขาดสิ่งปกคลุม เมื่อมีฝนตกลงมาในปริมาณมากๆ น้ำไม่สามารถไหลซึมลงไปในดินได้ทันที ทำให้น้ำป่าไหลพัดพาเอาหน้าดินลงไปสู่ที่ต่ำกว่า จนแม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนอง บึง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติตื้นเขิน เมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทราบสาเหตุ จึงได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไข โดยโปรดให้นำ หญ้าแฝก ซึ่งเป็นพืชตระกูลหญ้าที่มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย ลักษณะเป็นกอแน่นมีคุณสมบัติในการยึดเหนี่ยวดิน สามารถลดหรือป้องกันการกัดกร่อนของดินได้เป็นอย่างดี รวมทั้งยังเป็นพืชที่มีระบบรากลึกแผ่กระจายลงไปในดินตรงๆ เป็นแผงเหมือนกำแพงที่จะช่วยกรองตะกอนดินและรักษาหน้าดิน รวมทั้งอนุรักษ์ความชุ่มชื้นของดินอีกด้วย

จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ กรมพัฒนาที่ดิน ดำเนินการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ตลอดจนการสำรวจและเก็บตัวอย่างของหญ้าแฝกทุกชนิด ที่มีอยู่ในประเทศไทยมารวบรวมจัดทำเป็นข้อมูล เพื่อทดลองปลูกในพื้นที่ศูนย์ศึกษา การพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยเฉพาะที่ศูนย์การพัฒนาห้วยทราย และศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ซึ่งมีปัญหาในเรื่องคุณภาพของดิน จนได้ผลเป็นที่แน่ชัดว่าหญ้าแฝกมีประโยชน์อย่างแท้จริง ทั้งในด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ การป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน การเพิ่มผลผลิตในการเพาะปลูก การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งการนำมาใช้สอยในประโยชน์อื่นๆ เช่น การทำกระดาษ เชือก เสื่อ หมวก ตะกร้า ใช้เป็นอาหารสัตว์ การทำปุ๋ยหมัก รวมถึงการใช้เป็นวัสดุคลุมดิน บนแปลงที่ใช้ปลูกพืชผักหรือพืชไร่ ซึ่งจะช่วยให้ดินที่ถูกคลุมด้วยหญ้าแฝกมีความชุ่มชื้นสูง

จากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการให้นำหญ้าแฝกมาศึกษาและทดลองปลูก ทั้งตาม แนวไหล่เขาซึ่งเป็นทางน้ำไหล หรือตามคันดินริมแหล่งน้ำต่างๆ ทำให้การปลูกหญ้าแฝกตามหลักวิธีและการใช้พันธุ์ โดยถูกต้องตามสภาพดินและอากาศกระจายไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ เนื่องจากสามารถป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ซึ่งเป็นวิธีการง่ายๆ ค่าใช้จ่ายไม่มาก แต่ประโยชน์ที่ได้รับมีมากอย่างมหาศาล ทั้งแก่เกษตรกรและประเทศชาติ จนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ และธนาคารโลก ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ทูลเกล้าฯ ถวายแผ่นเกียรติบัตรหญ้าแฝกชุบสำริด สดุดีพระเกียรติคุณในฐานะที่ทรงมุ่งมั่นในการพัฒนา ส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ รวมทั้งสมาพันธ์ควบคุมการพังทลายของดินนานาชาติ ได้ถวายพระเกียรติรางวัลบุคคลดีเด่นนานาชาติ ในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่าง ในการนำหญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ พร้อมทั้งเผยแพร่การดำเนินการเกี่ยวกับหญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ไปทั่วโลกอีกด้วย
บทความประชาสัมพันธ์ ศูนย์ผลิตรายการและข่าว ทภ.1

ชาติบ้านเมือง คือชีวิต เลือดเนื้อ


คลิกที่ภาพเพื่อขยายตามมาตราส่วนจริง
ชาติบ้านเมือง คือชีวิต เลือดเนื้อ และสมบัติ
ของเราทุกคนและการดำรงรักษาชาติประเทศนั้น
มิใช่หน้าที่ของบุคคลผู้ใดหมู่ใด โดยเฉพาะ
หากแต่เป็นหน้าที่ของทุกๆคน ที่จะต้องร่วมมือ
กระทำพร้อมกันไป โดยสอดคล้องเกื้อกูลกัน

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ดิน คือสินทรัพย์ตามแนวพระราชดำริ

วิธีการปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อการเกษตร
1.เพื่อปลูกข้าว ในเขตชลประทาน ถ้าดินมีค่า pH น้อยกว่า 4.0 ใช้ปูนในอัตราส่วนประมาณ 1.5 ตันต่อไร่ และถ้าดินมีค่า pH ระหว่าง 4.0-4.5 ให้ใช้ปูนในอัตรา 1 ตันต่อไร่
 
ในเขตเกษตรน้ำฝน ดินที่มีค่า pH น้อยกว่า 4.0 ใช้ปูนในอัตราประมาณ 2.5 ตันต่อไร่และถ้าดินมีค่า pH ระหว่าง 4.0-4.5 ใช้ปูนในอัตรา 1.5 ตันต่อไร่
ขั้นตอนการปรับปรุงดินเปรี้ยวเพื่อปลูกข้าว
          1.เมื่อหว่านปูนแล้วให้ทำการไถแปร
          2.ปล่อยน้ำเข้าในนาแล้วแช่ขังไว้ประมาณ 10 วัน
          3.จากนั้นให้ระบายน้ำออกเป็นการชะล้างสารพิษ
          4.ปล่อยน้ำเข้าไปขังใหม่เพื่อใช้ในการปักดำ
2. เพื่อปลูกพืชล้มลุก จะแยกเป็นการปลูกผักและการปลูกพืชไร่
          2.1 การปลูกพืชผัก มีลำดับขั้นตอนดังนี้ คือ
                    1) ยกร่องสวน โดยใช้สันร่องมีขนาดกว้างประมาณ 6-7 เมตร มีคูระบายน้ำกว้าง 1.5 เมตรและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร หรือลึกพอถึงระดับขั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรต์มาก
                    2) ไถพรวนดิน แล้วตากทิ้งไว้ 3-5 วัน
                    3) ทำแปลงย่อยบนสันร่อง โดยยกแปลงให้สูงประมาณ 25-30 เซนติเมตร กว้างประมาณ1-2 เมตร เพื่อระบายน้ำบนสันร่องและเพื่อป้องกันไม่ให้แปลงย่อยแฉะเมื่อรดน้ำหรือเมื่อมีฝนตก
 
                    4) ใส่วัสดุปูนเพื่อลดความเป็นกรดของดินคือใช้หินปูนฝุ่นหรือปูนมาร์ลอัตราประมาณ 2-3 ตันต่อไร่หรือประมาณ 2 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยการคลุกเคล้าปูนให้เข้ากับดินและทิ้งไว้ 15 วัน
                    5) ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรียในอัตรา 5 ตันต่อไร่หรือประมาณ 3 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยใส่ก่อนปลูก 1 วันเพื่อปรับปรุงดินให้ร่วนซุยมีส่วนประกอบของดินดี
          2.2 การปลูกพืชไร่บางชนิด อาจกระทำได้ 2 วิธี คือ แบบยกร่องสวนและแบบปลูกสลับหลังฤดูทำนา การปลูกพืชไร่แบบยกร่องสวนเป็นการปลูกพืชไร่แบบถาวร มีวิธีเตรียมพื้นที่แบบเดียวกับการปลูกพืชผัก สำหรับการปลูกพืชไร่แบบปลูกสลับหลังฤดูทำนาจะอยู่ในช่วงปลายฤดูฝนหรือหลังจากฝนหยุดตกแล้วการเตรียมพื้นที่ก็เนเดียวกันการเตรียมเพื่อการปลูกพืชไร่ทั่ว ๆ ไห แต่อาจต้องยกแนวร่องปลูกพืชไร่ให้สูงกว่าการปลูกบนพื้นที่ดินตอนประมาณ 10-20 เซนติเมตรเพื้อป้องกันมิให้น้ำแช่ขัง ถ้ามีฝนตกผิดฤดูหรือถ้าดินในบริเวณนั้นเคยได้รับ การปรับปรุงโดยใช้ปูนมาแล้ว คาดว่าคงไม่จำเป็นต้องใช้ปูนอีก

3. เพื่อปลูกไม้ผล ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
          1) สร้างคันดินกั้นน้ำขนาดใหญ่ล้อมรอบแปลง เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในฤดูฝน พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำออกตามต้องการ ขนาดของเครื่องสูบน้ำขึ้นอยู่กับปริมาณพื้นที่ที่จะสูบและปริมาตรน้ำฝน โดยประมาณจากปริมาตรของฝนที่ตกลงมาเป็นประจำ
          2) ทำการยกร่องปลูกพืชตามวิธีการปรับปรุงพื้นที่ที่มีดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกไม้ผลดังที่กล่าวแล้ว
          3) น้ำในคูระบายน้ำจะเป็นน้ำเปรี้ยว ต้องทำการระบายออกเมื่อเปรี้ยวจัดและสูบน้ำจืดมาแทนใหม่ ช่วงเวลาถ่ายน้ำประมาณ 3-4 เดือนต่อครั้ง
          4) ควบคุมระดับน้ำในคูระบายน้ำไม่ให้ต่ำว่าชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรต์มาก เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาที่จะทำให้ดินมีความเป็นกรดเพื่มขึ้น
          5) ใส่ปูน อาจเป็นปูนขาว ปูนมาร์ล หรือหินปูนฝุ่น ตามแต่จะหาได้ภายในพื้นที่ โดยหว่านทั่วทั้งร่องที่ปลูกในอัตราประมาณ 1-2 ตันต่อไร่
          6) ระยะเวลาที่ปลูกกำหนดให้เหมาะสมตามชนิดของพืช
          7) ขุดหลุมปลูกขนาดกว้าง ยาว และลึก 50-100 เซนติเมตร แยกดินชั้นบนและชั้นล่างไว้ต่างหาก ตากทิ้งไว้ 1-2 เดือนเพื่อฆ่าเชื้อโรค เอาส่วนที่เป็นหน้าดินผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก หรือบางส่วนของดินชั้นล่าง แล้วกลบลงไปในหลุมให้เต็ม ปุ๋ยหมักใส่ในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อตัน โดยผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับปูนในอัตราประมาณ 15 กิโลกรัมต่อหลุม
          8) ดูแลปราบวัชพืช ดรค แมลง และให้น้ำตามปกติ สำหรับการใช้ปุ๋ยบำรุงดินให้พิจารณาตามความเหมาะสม

          จากแนวพระราชดำริในทฤษฎี “ แกล้งดิน” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ฯ ได้ทำการศึกษาวิจัยต่อและสรุปผลได้ดังนี้
          ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดินกรดกำมะถัน เพื่อเร่งให้ดินเป็นกรดจัดรุนแรง โดยการทำให้ดินแห้งเปียกสลับกัน จากนั้นจึงศึกษาวิธีการปรับปรุงดินด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้ดินที่เหมาะสมในการปลูกพืช คือ
          แบ่งพื้นที่ศึกษาเป็น 6 แปลง แลงที่ 1-4 ทดสอบขังน้ำไว้ 4 สัปดาห์แล้วปล่อยให้แห้ง 8 สัปดาห์สลับกันไป แปลงที่ 5 และ 6 ปล่อยไปตามสภาพธรรมชาติ นำดินจากพื้นที่ทั้ง 6 แปลงมาตรวจวิเคราะห์พบว่าการทำให้ดินแห้งและเมื่อทดลองต่อไปก็พบว่า ยิ่งปล่อยให้ดินแห้งนานมากขึ้น ความเป็นกรดจะรุนแรงมากกว่าการให้น้ำขังนาน ๆ และการใช้น้ำหมุนเวียนไม่มีการระบายออก จะทำให้ความเป็นกรดและสารพิษในดินสะสมมากขึ้น
          ต่อมาได้ดำเนินการปรับปรุงดิน โดยการใช้น้ำชะล้างแล้วใส่หินปูนฝุ่นในปริมาณน้อย สามารถปรับปรุงดินกรดกำมะถันได้อย่างดี การใช้น้ำชะล้างพียงอย่างเดียวก็ได้ผลเช่นกัน แต่ต้องใช้เวลานานกว่า และหลังจากปรับปรุงดินแล้วปล่อยทิ้งไว้ไม่ใช้ประโยชน์จะทำให้ดินกลับเป็นกรดจัดรุนแรงขึ้นอีก และถ้าปล่อยดินให้เป็นไปตามธรรมชาติโดยไม่มีการปรับปรุง จะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของความเป็นกรดจัดน้อยกว่า
          ด้วยพระเมตตา บัดนี้พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดมืใช่พื้นที่ไร้ประโยชน์อีกแล้ว แต่สามารถนำมาทำการเกษรตได้ทั้งปลูกข้าว ข้าวโพด ถั่วต่างๆ อ้อย งา มันเทศ พืชผัก ไม้ผลและไม้ยืนต้น พืชอาหารสัตว์ และขุดบ่อเลี้ยงปลา ได้ผลดีจนนำไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นของราษฏรในแถบนั้น ซึ่งต่างพากันสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิรู้ลืม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก:
-หนังสือดินคือสินทรัพย์ตามแนวพระราชดำริ
-หนังสือดินกับการผลิตพืช

ทฤษฎีแกล้งดิน 2

สืบเนื่องจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จแปรพระราชฐานไปยังจังหวัดต่าง ๆ อยู่อย่างสม่ำเสมอในการเสด็จแปรพระราชฐานทุกครั้งมิได้เพื่อทรงพักผ่อนเช่นสามัญชนทั่วไป แต่จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรหรือติดตามโครงการต่าง ๆ ที่ทรงริเริ่มหรือมีพระราชดำริไว้ ดังนั้นเพื่อเป็นการถวายความสะดวกแด่พระประมุขของชาติ รัฐบาลจึงสร้างพระตำหนักน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นที่ประทับในคราวเสด็จแปรพระราชฐานไว้ในหลายจังหวัด เช่น พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ที่จังหวัดเชียงใหม่ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ที่จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น
          จากการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดภาคใต้ ทำให้ทรงทราวว่าราษฎรมีความเดือดร้อนหลายเรื่องโดยเฉพาะในกลุ่มของเกษตร เช่น การขาดแคลนที่ทำกินหรือปัญหาในพื้นที่พรุซึ่งมีน้ำขังอยู่ตลอดปี แม้สามารถทำให้น้ำแห้งได้ ดินในพื้นที่เหล่านั้นก็ยังเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำการเกษตรได้ผลน้อยไม่คุ้มทุนพระองค์ทรงตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ว่ามีความจำนงเร่งด่วนที่จะต้องพระราชทานความช่วยเหลือ ดังจะเห็นได้จากความตอนหนึ่งในพระราชดำรัสต่อไปนี้
          “ ..ที่ที่น้ำท่วมนี่หาประโยชน์ไม่ได้ถ้าเราจะทำให้มันโผล่พ้นน้ำขึ้นมา มีการระบายน้ำออกไป ก็จะเกิดประโยชน์กับประชาชนในเรื่องของการทำมาหากินอย่างมหาศาล..”
          พระองค์ทรงมอบให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุซึ่งมีน้ำแช่ขังอยู่ตลอดปี มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำเกษตรให้ได้มากที่สุด โดยต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศของป่าพรุด้วย
          การที่ดินในป่าพรุเป็นดินเปรี้ยวจัดก็เพราะ ดินเหล่านี้เป็นดินที่มีอินทรียวัตถุคือรากพืชเน่าเปื่อยอยู่ข้างบน และในระดับความลึกประมาณ 1-2 เมตร มีลักษณะเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงินซึ่งมีสารประกอบไพไรต์หรือกำมะถันอยู่มาก ดังนั้น เมื่อดินแห้ง กรดกำมะถันก็จะทำปฏิกิริยากัอากาศทำให้แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัดพระองค์จึงมีพระราชประสงค์จะแก้ไขปัญหานี้ให้กับราษฎร
          เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริ อันเป็นต้นกำเนิดของโครงการ แกล้งดิน ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ความว่า “..ให้มีการทดลองทำดินให้เปรี้ยวจัด โดยการระบายน้ำให้แห้งและศึกษาวิธีการแก้ดินเปรี้ยว เพื่อนำผลไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยวให้แก่ราษฎรที่มีปัญหาในเรื่องนี้ในเขตจังหวัดนราธิวาส โดยให้ทำโครงการศึกษาทดลองในกำหนด 2 ปี ..”
          โครงการ “ แกล้งดิน” จึงกำเนิดขึ้นโดยมีศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เป็นหน่วยดำเนินการสนองพระราชดำริ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดินกำมะถัน

ทฤษฎี "แกล้งดิน" อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส ในปี .. 2524 ทรงพบว่า หลังจากมีการชักน้ำออกจากพื้นที่พรุเพื่อจะได้มีพื้นที่ใช้ทำการเกษตรและเป็นการบรรเทาอุทกภัยนั้น ปรากฎว่าดินในพื้นที่พรุแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิดประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุดและให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วยการแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรีย์วัตถุหรือซากพืชเน่าเปื่อย อยู่ข้างบนและมีระดับความลึก 1-2 เมตรเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (Pyrite : FeS2) อยู่มาก ดังนั้นเมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินแปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ จึงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการ "แกล้งดิน" เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการ "แกล้งดินให้เปรี้ยว" ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น "แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด" จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แนวคิดทฤษฎีใหม่ของในหลวง


หัวใจสำคัญของทฤษฎีใหม่ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น มิได้อยู่ที่การเพิ่มผลตอบแทน แต่อยู่ที่การ ลดความเสี่ยง ซึ่งกระบวนการเช่นนี้ไม่เพียงสามารถใช้ได้ในภาคเกษตรกรรมเท่านั้น แต่สามารถประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจอื่นๆ ได้อีกด้วยหากเรา สามารถส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ในทฤษฎีใหม่อย่างถูกต้อง และสนับสนุนให้หนึ่งในสี่ของเกษตรกรและภาคอื่นๆ ในระบบเศรษฐกิจของเรา ดำเนินตามหลักการของทฤษฎีใหม่ ความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจของเราจะลดลงได้อย่างมาก ความผันผวนจากปัจจัยภายนอกประเทศ จะไม่สามารถ ทำให้ เศรษฐกิจของเราแปรปรวนอย่างรุนแรงดังเช่นปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนี้ทั้งเศรษฐกิจและค่าเงินบาทก็จะแข็งแกร่งและมีเสถียรภาพมากขึ้น

มิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพและเทิดทูนของประชาชนทุกหมู่เหล่า
สมเด็จพระราชินีทรงเป็นที่เคารพของประชาชนทุกหมู่เหล่า
ประชาชนคนไทยและต่างชาติ ล้วนยกย่องพระราชกรณียกิจของทุกพระองค์
สถาบันพระมหากษัตริย์จะต้องดำรงอยู่คู่ราชอาณาจักรไทย
ทุกพระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยพระวรกายเพื่อประชาชนชาวไทยได้อยู่อย่างมีความสุข
ทุกพระองค์ ทรงเป็นผู้ที่มีความเสียสละที่แท้จริง
ทุกตารางนิ้วของประเทศไทยร่วมเย็นได้เพราะพระบารมี
ทุกพระองค์ทรงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทย
พระองค์ทรงเป็นนักพัฒนาที่ยิ่งใหญ่
ทรงห่วงใยประชาชนชาวไทยยิ่งกว่าสิ่งใด
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ และเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย ตลอดกาล

เพื่อราษฎรของพระองค์


ในหลวงพระองค์ทรงงาน หนักและเหนื่อย เพื่อราษฎรของพระองค์ให้เป็นสุข พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทุ่มเทพระวรกายตรากตรำ และมุ่งมั่นเพื่อแก้ไขปัญหา
ความเดือดร้อนของพสกนิกรชาวไทย  ความเสียหายของชาติจะบานปลาย ถ้าคนไทยขาด
ความจงรักภักดี ต่อสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ไทยเรามีสถาบันพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขปกครองประเทศมาช้านาน ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจของคนทั้งชาติ
พระองค์ทรงเป็นพระมหาบพิตรที่สถิตในดวงใจของปวงประชา พระองค์ทรงเป็นผู้นำตามแนวพระราชดำริ ให้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคคลบาท
ด้วยเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยรัดดวงใจเพื่อเทิดไท้องค์ราชัน ที่พระองค์ทรงฝ่าฟันให้ไทยนั้นได้ร่มเย็น

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

The King and His People

The King and His PeopleHis Majesty King Bhumibol Adulyadej is undoubtedly his people’s King; the Father of the Land. When he moved back to Thailand for good in 1951, he began his visits to his people almost straight away. He is the first Thai King, and Thai individual, to see every single corners of his kingdom. He has visited far-reaching places. Where there were no roads, he used helicopters; where there were no place for helicopters to land, he went by jeeps, horses, as well as on foot. It is said that he is the only individual in Thailand, past and present, and most probably the future, to see every single square inch of his land. With his visits, he brought medical teams as well as surveyors to plan the connection of all towns and villages, a route to prosperity. He helped with irrigation problems as the majority of the Thai people were farmers, depending solely on their crops for their income. He has also eradicated the opium growing culture of many hilltribes of the north, and proposed substitutions with valuable crops. During the time of natural crisis, the King has always been the first person to be on the scene. Only until recently that the King has not been able to travel to the affected places due to health problems, nevertheless, his team has continued to visit and help out according to the King’s instructions. In addition, he has continued to contribute personal funds quick and fast to the needy, as seen most recently with the flooding disaster around the Kingdom in late 2010,

when the King’s team was the first to act the fastest, while government team became the slowest, especially with all the bureaucracies they had to go through before help could be dispatch to the flooding victims. With the continual disputes within the political world, the Thai people are becoming more and more dependent on the King to guide them through everyday lives; a source of simple strength needed to lead a happy life in this ancient Kingdom.

His Majesty the King

"We will reign with righteousness for the benefit and happiness of the Siamese people."
And what the King has said, he has done, and continues to do..
His Majesty the King has been the guiding light during his more than 60 years as King of Thailand, making him currently the longest reigning monarch in the world. He has seen 26 Prime Ministers come and go, and is currently with the 27th Prime Minister of Thailand. These two dozens or so prime ministers represented different political parties, different thinking, different view points, so it can be said that His Majesty has seen them all, as he went through so many changes, disruptions, political turmoils and more. As a constitutional monarch, he is above politics. His main focus has thus been trying to better the livelihood of the Thai people, especially in the rural area, and far-reaching corners of the kingdom. He has also played the perfect diplomat between two warring sides of the different governments and political opponents during the many political upheavals in the recent Thai history. With all the political turmoils, the King has stood by the Thai people, and act as a strong pillar of righteousness and guiding light for the people to hold on to.

Constitutional MonarchyA constitutional monarch is above politics. He lives under the law of the kingdom, but cannot be involved in politics. In fact, all royals with the ranks of Mom Chao (Serene Highnesses) up cannot be involved in politics, nor have any voting rights, including not being able to join political parties nor become politicians. In addition, the royals should not show their slant towards any particular political parties.
His Majesty King Bhumibol has acted righteously in all of the political events of Thailand from past to present. He has only become involved during extreme situations involving bloodshed, and then only as a mediator between two or more factions, trying to get to a solution of calm and peace. Lately, many has forgotten the role of the King, and tried to drag his good name into the political mess. The King continues to stand tall, and has not involved himself. He neither denies nor accepts any misconceptions thrown out at him, as the modern Thai people continues to show their ignorance in not knowing what a constitutional king can or cannot do. Even political individuals have also forgotten this, and tries to drag the King’s good name to their sides, only with the sole intention of trying to win over the voice of the people. Many descendants of the different royal houses (rankings of Mom Rajawongse down) have also become involved in the different sides, and have since drag the King’s name with them as well. They are in fact not counted as royals, but as citizens of the kingdom, who are descendants of royalty, but now have rights to vote and make known their political views. Even they have forgotten the role of a constitutional monarch, as well as how their fathers (Mom Chaos), as royals, were expected to act in the good name of the Thai Royal Family.

The Thai Concept of Kingship

 
The Thai Concept of KingshipA King is the Father of the Land. It’s quite a simple concept, really. A father is expected to look after his children and give them the basic needs to live on, and provide good basic education for them, as foundation to make a living when they are grown up. The good children will then look after their father in old age, so that he will have a comfortable life after he retires.
His older and wiser children were to form a group that would continue their father’s work, to better the lives of the younger children and bring peace and prosperity to the family and their home. The King, though, is father to over 60 million children, and growing. He has looked after his millions of children quite well, as witnessed by his actions through his visits, his projects, and his personal funds, all for the betterment of his country. I have to say that he has been the hardest working monarch in the world, as his subjects were not as healthy as others, nor were living in good conditions. But, the Thai people were happy back then, as they had simpler lives, and had the very basic needs. The ones that were quite lost, and lived away from developed areas were looked after by the King, and they were then slowly but surely connected to the civilization that make up the Kingdom. He has tried to improve education by setting up schools in rural, unreachable areas, and provided funds for their continuations. It is so much a single person can do for the 60 million subjects. It could have been quite easy for the government, the supposedly wiser and mature children, to continue these projects, as the basic foundation have been laid. With sound education, the Thai subjects could have moved to a better life working in jobs that were provided by the government and the private sector. The subjects would have been happy, with better lives, and no quarrels in politics. The subjects, in turn, will come to look after their King as a child to a father. Unfortunately, the King does not get to retire. And, it seems no one is looking after him when he has entered old age.


A Father is also expected to be the pillar of strength for his children. Indeed, the King has certainly been a very strong pillar. With the cumbersome bickering between political parties, unending it seems, since Thailand changed from absolute monarchy to a constitutional one, with what is called the system of democracy introduced to the land. This constance bickering has not benefited the country much, though Bangkok has seen huge developments in terms of infrastructures and much else, the rural areas are still in need of catching up, where some far-reaching areas are still without electricity. So, the King travelled again and again, and tried to bring developments to these areas. Personal funds can never be enough without the government’s additional monetary help. So, with the King going it alone, the underdeveloped parts will be slow to see their light-of-day

วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สัมภาษณ์กับรายการโทรทัศน์

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทานวโรกาสพิเศษ
ให้สัมภาษณ์กับรายการโทรทัศน์วู้ดดี้เกิดมาคุย
วันอาทิตย์ ที่ 10 เมษายน 2554
สถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ทีวี

จดหมายจากในหลวงถึงสมเด็จพระเทพฯ

จดหมายจากในหลวงถึงสมเด็จพระเทพฯ"
จดหมายถึง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี

6
ตุลาคม 2547 พระราชนิพนธ์:
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระราชหัตถเลขาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีไปถึงสมเด็จ พระเทพ รัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม    พุทธศักราช ๒๕๔๗
สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำเผยแพร่

ลูกพ่อในพื้นแผ่นดินนี้ ทุกสิ่งเป็นของคู่กันมาโดยตลอด มีความมืดและความ
สว่าง ความดีและความชั่ว
ถ้าให้เลือกในสิ่งที่ตนชอบแล้ว ทุกคนปรารถนา
ความสว่างปรารถนาความดีด้วยกันทุกคน
แต่ความปรารถนานั้นจักสำเร็จลงได้จักต้องมีวิธีที่จักดำเนินให้ไปถึงความสว่าง หรือ ความดีนั้น ทางที่จักต้องไปให้ถึงความดีก็คือรักผู้อื่น เพราะความรักผู้อื่น สามารถแก้ปัญหาได้ทุกปัญหา ถ้าให้โลกมีแต่ความสุขและเกิดสันติภาพ ความรักผู้อื่นจักเกิดขึ้นได้

พ่อขอบอกลูกดังนี้...
1. ขอให้ลูกมองผู้อื่นว่า เป็นเพื่อนเกิด เพื่อนแก่ เพื่อนเจ็บ เพื่อนตายด้วยกัน ทั้งหมด   ทั้งสิ้น ไม่ว่าอดีต...ปัจจุบัน...อนาคต
2.
มองโลกในแง่ดี และจะให้ดียิ่งขึ้น ควรมองโลกจากความเป็นจริง อันจักเป็นทางแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
3.
มีความสันโดษ คือ
    -
มีความพอใจเป็นพื้นฐานของจิตใจ พอใจตามมีตามได้ คือได้อย่างไรก็เอาอย่างนั้น ไม่ยึดติด ขอให้คิดว่ามีก็ดี ไม่มีก็ได้   พอใจตามกำลัง คือมีน้อยก็พอใจตามที่ได้น้อย
     -
ไม่เป็นอึ่งอ่างพองลมจะเกิดความเดือดร้อนในภายหลัง
     -
พอใจตามสมควร คือทำงานให้มีความพอใจเหมาะสมแก่งาน
     -
ให้ดำรงชีพให้เหมาะสมแก่ฐานะของตน
4.
มีความมั่นคงแห่งจิต คือให้มองเห็นโทษของความเกียจคร้านและมองเห็นคุณประโยชน์ของความเพียร และเมื่อเกิดสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาให้ภาวนาว่า...มีลาภ มียศ สุขทุกข์ปราฏ สรรเสริญนินทา เสื่อมลาภเสื่อมยศ เป็นกฎธรรมดา อย่ามัวโศกานึกว่า ' ชั่งมัน '
   พ่อ
   6/10/2547   
---------------------------------------------------------------------------------------

สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ ทรงมีพระราชปรารภทิ้งท้าย

***
ฉันหวังว่า คำสอนพ่อที่ฉันได้ประมวลมานี้ จะเกิดประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน ที่ได้พบเห็น และลูกอันเป็นที่รักของพ่อทุกคน ฉันรัก พ่อฉันจัง สิรินธร 
************************
จดหมายส่งต่อ อ่านแล้วซาบซึ้งเหลือเกิน
ทรงพระเจริญ
.............

ชาตินั้นเปรียบได้กับชีวิตคน

...  ชาตินั้นเปรียบได้กับชีวิตคน  กล่าวตามหลักความจริง  คนเราประกอบด้วย  ร่างกายส่วนหนึ่ง  จิตใจส่วนหนึ่ง  ทั้งสองส่วนคุมกันอยู่บริบูรณ์ชีวิตก็คงอยู่  ส่วนใดส่วนหนึ่งทำลายไป  ชีวิตก็แตกดับเพราะอีกส่วนหนึ่งจำต้องแตกทำลายไปด้วย  ชาติของเรานั้นมีผืนแผ่นดินและประชากรอันรวมกันอยู่เป็นส่วนของร่างกาย  มีศิลปวิทยามีธรรมเนียมประเพณี  มีความเชื่อถือและความคิดจิตใจที่จะสามัคคีกันอยู่เป็นปึกแผ่น  ซึ่งรวมเรียกว่า  "ความเป็นไทย"  เป็นส่วนจิตใจ  ชาติไทยเราดำรงมั่นคงอยู่ก็เพราะยังมีบ้านเมืองและความเป็นไทยพร้อมบริบูรณ์  แต่ถ้าความเป็นไทยของเรามีอันต้องเสื่อมสลายไปด้วยประการใดแล้ว  ชาติก็ต้องสิ้นสูญ  เพราะถึงหากบ้านเมืองและผู้คนจะยังอยู่  ก็ไม่มีสิ่งใดประสานยึดเหนี่ยวให้รวมกันอยู่ได้จะต้องแตกแยกจากกันไปในที่สุด  เหมือนส่วนต่าง ๆ  ของร่างกายที่ต้องแตกจากกันเมื่อสิ้นชีวิต ...

พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
วันที่  ๒๒  กันยายน  ๒๕๒๑

พระราชดำรัสใน ความสามัคคี

ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสในเรื่อง "ความสามัคคี" ความตอนหนึ่งว่า

"...บ้านเมืองจะมีความมั่นคงและปกติสุขอยู่ได้ ก็ด้วยนานาสถาบัน อันเป็นหลักของประเทศและคนไทยทุกหมู่เหล่า มีความสมัครสมานปรองดองกันดี และรู้จักปฏิบัติหน้าที่ให้ประสานส่งเสริมกัน ความพร้อมเพรียงของทุกฝ่าย ทุกคนที่มีความสำนึกแน่ชัดในหน้าที่ความรับผิดชอบ และต้องใจปฏิบัติตน ปฏิบัติงานให้ดีให้สอดคล้องกันนี้ ความสามัคคีในชาติ ถ้าทุกคนใจชาติจะได้ตั้งตนตั้งใจให้อยู่ในความสามัคคีดังกล่าว ประโยชน์และความสุขก็จะพึงเกิดขึ้น พร้อมทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม ประเทศชาติของเราก็จะสามารถรักษาความปกติมั่นคงพร้อมทั้งพัฒนาให้รุดหน้าไปได้"

ต้องระเบิดจากข้างใน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาคน มีพระราชดำรัสว่า
"ต้องระเบิดจากข้างใน" นั้นหมายความว่า ต้องมุ่งพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็ง
ให้คนและครอบครัวในชุมชนที่เข้าไปพัฒนาให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนา
เสียก่อน แล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การนำเอาความเจริญจาก
สังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชนและหมู่บ้าน ซึ่งหลายชุมชนยังไม่ทันได้มีโอกาส
เตรียมตัวหรือตั้งตัว จึงไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงและ
นำไปสู่ความล่มสลายได้

รู้รักสามัคคี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสในเรื่อง "รู้ รัก สามัคคี" มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่มีคุณค่าและมีความหมายลึกซึ้ง สามารถปรับใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย
รู้  : การที่เราจะลงมือทำสิ่งใดนั้น จะต้องรู้เสียก่อน รู้ถึงปัจจัยทั้งหมด รู้ถึงปัญหา และรู้ถึงวิธีแก้ปัญหา
รัก : คือ ความรัก เมื่อเรารู้ครบถ้วนกระบวนความแล้วจะต้องมีความรัก การพิจารณาที่จะเข้าไปลงมือปฏิบัติแก้ไขปัญหานั้นๆ คือ การสร้างฉันทะ
สามัคคี : การที่จะลงมือปฏิบัติควรคำนึงเสมอว่าเราจะทำงานคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือร่วมใจกันเป็นองค์กร เป็นหมู่คณะจึงจะมีพลังเข้าไปแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

ประโยชน์ส่วนรวม

   
           การปฏิบัติพระราชกรณียกิจและการพระราชทานพระราชดำริในการพัฒนาและช่วยเหลือ
           พสกนิกรในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงระลึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
           ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า
"...ใครต่อใครบอกว่า ขอให้เสียสละส่วนตัวเพื่อส่วน อันนี้ฟังจนเบื่อ อาจรำคาญด้วยซ้ำว่า ใครต่อใครมาก็บอกว่าขอให้คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม อาจมานึในใจว่า ให้ๆ อยู่เรื่อยแล้วส่วนตัวจะได้อะไร ขอให้คิดว่าคนที่ให้เป็นเพื่อส่วนรวมนั้น มิได้ให้ส่วนรวมแต่อย่างเดียว เป็นการให้เพื่อตัวเองสามารถที่จะมีส่วนรวมที่จะอาศัยได้..."

การมีส่วนร่วม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักประชาธิปไตย ทรงเปิดโอกาสให้ทุกฝ่าย
ทั้งสาธารณชน ประชาชน หรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับได้เข้ามาร่วมกันแสดงความคิดเห็น
และร่วมกันทำงานโครงการพระราชดำริ โดยคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนหรือ
ความต้องการของสาธารณชนด้วย ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า

 "...สำคัญที่สุดจะต้องหัดทำใจให้กว้างขวางหนักแน่น รู้จักรับฟังความคิดเห็น
แม้กระทั่งความวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นอย่างฉลาด เพราะการรู้จักรับฟังอย่างฉลาด
นั้นแท้จริงคือการระดมสติปัญญาและประสบการณ์อันหลากหลาย มาอำนวนการ
ปฏิบัติบริหารงานให้ประสบความสำเร็จที่สมบูรณ์นั่นเอง..."

"...การไปช่วยเหลือประชาชนนั้น ต้องรู้จักประชาชน
ต้องรู้ว่าประชาชนต้องการอะไร ต้องอาศัยความรู้ในการช่วยเหลือ..."

        สำหรับวิธีการมีส่วนร่วมพระองค์ทรงนำ "ประชาพิจารณ์" มาใช้ในการบริหารจัดการดำเนินงาน ซึ่งเป็นวิธีการที่เรียบง่ายตรงไปตรงมา โดยหากจะทำโครงการใดจะทรงอธิบายถึงความจำเป็นและผลกระทบที่เกิดกับประชาชนทุกฝ่าย รวมทั้งผู้นำชุมชนในท้องถิ่น เมื่อประชาชนในพื้นที่เห็นด้วยแล้ว หน่วยราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและร่วมดำเนินการมีความพร้อม จึงจะพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินโครงการนั้นๆ ต่อไป

ทำตามลำดับขั้น

   
ในการทรงงานพระองค์จะทรงเริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นของประชาชนที่สุดก่อน ได้แก่ สาธารณสุข เมื่อมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้วก็จะสามารถทำประโยชน์ด้านอื่นๆ ต่อไปได้จากนั้นจะเป็นเรื่องสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ อาทิ ถนน แหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค ที่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการให้ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีที่เรียบง่าย เน้นการปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ราษฎรสามารถนำไปปฏิบัติได้และเกิดประโยชน์สูงสุด ดังพระบรมราโชวาท เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฏาคม ๒๕๑๗ ความตอนหนึ่งว่า
"...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน ใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มสร้างความเจริญยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชน โดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในเวลานี้ การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชน ในการประกอบอาชีพและตั้งต้วให้มีความพอกิน พอใช้ก่อนอื่นเป็นพื้นฐานนั้น เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะผู้ที่มีอาชีพแลฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเอง ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าระดับที่สูงได้ต่อไปโดยแน่นอน ส่วนการถือหลักที่จะส่งเสริมความเจริญให้ค่อยเป็นไปตามลำดับ ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลวและเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์..."

แก้ปัญหาจากจุดเล็ก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเปี่ยมไปด้วยพระอัจฉริยภาพในการแก้ไขปัญหา ทรงมองปัญหาในภาพรวม (Macro) ก่อนเสมอ แต่การแก้ปัญหาของพระองค์จะเริ่มจากจุดเล็กๆ (Micro) คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่คนมักจะมองข้าม ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า
"...ถ้าปวดหัวก็คิดอะไรไม่ออกเป็นอย่างนั้นต้องแก้ไขการปวดหัวก่อน..มันไม่ได้เป็นการแก้อาการจริงแต่ต้องแก้ปวดหัวก่อน เพื่อที่จะให้อยู่ในสภาพที่คิดได้...แบบ(Macro) นี้ เขาจะทำแบบรื้อทั้งหมด ฉันไม่เห็นด้วย...อย่างบ้านคนอยู่ เราบอกบ้านนี้มันผุตรงนั้น ผุตรงนี้ ไม่คุ้มที่จะซ่อม ...เอาตกลงรื้อบ้านนี้ ระเบิดเลย เราจะไปอยู่ที่ไหนไม่มีที่อยู่ ..วิธีทำต้องค่อยๆ ทำ จะไประเบิดหมดไม่ได้..."

เศรษฐกิจพอเพียง3


“...ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในหลายประเทศเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ การทุ่มเทสร้างเครื่องจักรกลอันก้าวหน้า และมีประสิทธิภาพสูงขึ้นใช้ในการผลิตทำให้ผลผลิตทางอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นรวดเร็วและมากมาย จนอาจถึงขั้นฟุ่มเฟือยพร้อมกันนั้นก็ทำให้คนว่างงานลงเพราะถูกเครื่องจักรกลแย่งไปทำ เป็นเหตุให้เกิดความยุ่งยากตกต่ำทางเศรษฐกิจขึ้นเพราะคนที่ว่างงานยากจนลงและผู้ผลิตก็ขาดทุนเพราะสินค้าขายไม่ออกจึงน่าจะต้องดัดแปลงแนวคิดแนวปฏิบัติในการส่งเสริมความเจริญด้านอุตสาหกรรมไปบ้างให้สมดุลกับด้านอื่น ๆ เพื่อความอยู่รอด...”
พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า  วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๘

เศรษฐกิจพอเพียง2

“...ฉันพูดเศรษฐกิจพอเพียง ความหมายคือ ทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะของตัวเอง คือทำจากรายได้ ๒๐๐-๓๐๐ บาทขึ้นไป เป็น ๒ หมื่น ๓ หมื่นบาท คนชอบเอาคำพูดของฉัน เศรษฐกิจพอเพียงไปพูดกันเลอะเทอะ เศรษฐกิจพอเพียง คือ ทำเป็น Self-Sufficiency มันไม่ใช่ความหมาย ไม่ใช่แบบที่ฉันคิด ที่ฉันคิด คือ เป็น Self-Sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดู TV ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจำกัดเขาไม่ให้ซื้อ TV ดู เขาต้องการดูเพื่อสนุกสนาน ในหมู่บ้านไกล ๆ ที่ฉันไป เขามี TV ดู แต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า แต่ถ้า Sufficiency นั้น มี TV เขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือนคนไม่มีสตางค์ไปตัด Suit และยังใส่ Necktie Versace อันนี้ก็เกินไป...”
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๔

เศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน

“...การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกินแบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง...
...ความพอเพียงนี้ ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก อย่างนี้ท่านนักเศรษฐกิจต่าง ๆ ก็มาบอกว่าล้าสมัยจริงอาจจะล้าสมัย คนอื่นเขาต้องมีการเศรษฐกิจที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน เรียกว่า เป็นเศรษฐกิจการค้าไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียง เลยรู้สึกว่าไม่หรูหราแต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่าผลิตให้พอเพียงได้...
...ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนไป ทำให้กลับเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียงไม่ต้องทั้งหมดแม้แต่ครึ่งก็ไม่ต้อง อาจจะสักเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็จะสามารถอยู่ได้ การแก้ไขอาจจะต้องใช้เวลา ไม่ใช่ง่าย ๆ โดยมากคนก็ใจร้อนเพราะเดือดร้อน แต่ถ้าทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ก็สามารถที่จะแก้ไขได้...”
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐

พระราชดำรัสด้านสิ่งแวดล้อม

 ...วันก่อนนี้เราพูดถึงปัญหาว่าเมืองไทยนี้ อีกหน่อยจะแห้ง ไม่มีน้ำเหลือ จะต้องไปซื้อน้ำจากต่างประเทศ ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ แต่เชื่อว่าจะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะว่าถ้าคำนวณดู น้ำในประเทศไทยที่ไหลเวียนนั้นยังมีอยู่ เพียงแต่ต้องบริหารให้ดี ถ้าบริหารให้ดีแล้ว มีเหลือเฟือ มีตัวเลขแล้ว แต่ว่ายังไม่ได้ไปแยกแยะตัวเลข เหมือนที่ได้แยกแยะตัวเลขของคาร์บอนน้ำนั้นน่ะ ในโลกมีมาก แล้วที่ใช้จริงๆ มันเป็นเศษหนึ่งส่วนหมื่นของน้ำที่มีอยู่ อาจไม่ถึง ก็ต้องบริหารให้ดีเท่านั้นเอง เดี๋ยวนี้ก็มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำนี้จะต้องใช้ให้ดี คือ น้ำนั้นมีคุณ อย่างที่เราใช้น้ำสำหรับบริโภค น้ำสำหรับการเกษตร น้ำสำหรับอุตสาหกรรม ทั้งหมดนี้ ต้องใช้น้ำที่ดี หมายความว่า น้ำที่สะอาดน้ำมีมากในโลก เป็นน้ำทะเลเป็นส่วนใหญ่ซึ่งจะใช้อย่างนี้ไม่ได้ แล้วนอกจากนั้นเดี๋ยวนี้ที่กำลังมีมากขึ้น ก็คือ น้ำเน่า จะต้องป้องกันไม่ให้มีน้ำเน่า น้ำเน่าจะมีอยู่เสมอ แต่อย่าให้น้ำเน่านั้นเป็นโทษมากเกินไป ฉะนั้นนี่เป็นอีกโครงการหนึ่ง ที่เราจะต้องปฏิบัติ แล้วก็ ถ้าไม่จัดการโดยเร็ว เราก็จะนอนอยู่ในน้ำเน่า น้ำดีจะไม่มีใช้ แม้จะไปซื้อน้ำจากต่างประเทศมาก็กลายเป็นน้ำเน่าหมด เพราะว่าเอามาใช้โดยไม่ได้ระมัดระวังถ้าเรามีน้ำ แล้วมาใช้อย่างระมัดระวังข้อหนึ่ง และควบคุมน้ำที่เสียอย่างไรอีกข้อหนึ่ง ก็อยู่ได้ เพราะว่าภูมิประเทศของประเทศไทย "ยังให้" ใช้คำว่า "ยังให้" ก็หมายความว่ายังเหมาะแก่การอยู่กินในประเทศนี้ไม่ใช่ไม่เหมาะ ที่ๆ เหมาะมากในการตั้งถิ่นฐาน แต่ว่าต้องรักษาเอาไว้ไม่ทำให้ประเทศไทยเป็นสวนเป็นนากลายเป็นทะเลทราย ก็ป้องกันได้ ทำได้พูดกันว่า ถ้าหากไปทำโครงการไฟฟ้าพลังน้ำก็จะไปทำลายป่า ทำให้เสียหายกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมต่างๆ ผู้ที่อนุรักษ์สิงแวดล้อมก็พูดอย่างนั้น อันนี้เป็นความจริง ถ้าไปทำลายป่าแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือ สนามกอล์ฟ หรือการท่องเที่ยว หรือการลักลอบตัดป่า เป็นต้น ดังนี้ข้อเสียมันเพิ่มขึ้นได้จริง แต่ว่าถ้าหากไปทำในที่ที่เหมาะสม คำนวณได้ว่าผลเสียในการตัดไม้ส่วนหจึ่งจะคุ้มกับผลได้ คือ เช่นที่บอกว่าตัดต้นไม้นั้น ทำให้คาร์บอนขึ้นไปในอากษศเป็นจำนวนเท่านั้นๆ ทำให้เกิดความระเหยของน้ำเท่านั้นๆ เราก็จะต้องมาเลือกดูว่าจะรักษาป่าไว้ หรือจะต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเมื่อใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เราจะต้องใช้อย่างหนึ่งอย่างใด อย่างมีผู้เสนอให้ไปซื้อถ่านหินจากออสเตรเลีย มาสร้างโรงไฟฟ้าใช้ไอน้ำ คือใช้ถ่านหินมาเผา เพื่อที่จะทำความร้อนและขับเทอร์ไบน์ให้เป็นไฟฟ้า คำนวณดู ที่เราจะต้องซื้อถ่านหินจากประเทศออสเตรเลียมา ก็เสียเงินเสียทองเท่าไหร่ มาเผาแล้วจะออกมาเป็นคาร์บอน เวลามาเผาสำหรับหมุนกังหันจะต้องเกิดคาร์บอนขึ้นไปเท่าไหร่ เปรียบเทียบกับที่จะเสียพลังการกำจัดคาร์บอนจากต้นไม้สัก ๓-๔ ต้น นั้นน่ะ มันคุ้มหรือเปล่า ถ้าทำไฟฟ้าด้วยพลังน้ำที่ไม่ต้องตัดต้นไม้ เพียงแต่ตัดต้นหญ้าก็คงไม่เสียหาย...

พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล
ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒

พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงตระหนักดีว่า การพัฒนาการศึกษาของเยาวชนนั้น เป็นพื้นฐานอันสำคัญของประเทศชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล ให้เป็นทุนสำหรับการศึกษาในแขนงวิชาต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาได้มีทุนออกไปศึกษา หาความรู้ต่อในวิชาการชั้นสูงในประเทศต่างๆ โดยไม่มีเงื่อนไขข้อผูกพันแต่ประการใด เพื่อที่จะได้นำความรู้นั้นๆ กลับมาใช้พัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
          H.M.K picture นอกเหนือไปจากนี้แล้ว ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการจัดทำสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนขึ้น สารานุกรมชุดนี้ มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากสารานุกรมชุดอื่นๆ ที่ได้เคยจัดพิมพ์มาแล้ว กล่าวคือ เป็นสารานุกรมอเนกประสงค์ที่บรรจุเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นสาระไว้ครบทุกแขนงวิชา โดยจัดแบ่งเนื้อหาของแต่ละเรื่องออกเป็นสามระดับ เพื่อที่จะให้เยาวชนแต่ละรุ่น ตลอดจนผู้ใหญ่ที่มีความสนใจ สามารถที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ได้ตามความเหมาะสมของพื้นฐานความรู้ ของแต่ละคน โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาวิชา การอุทิศเวลาและความรู้ เพื่อสนองพระราชดำริ โดยร่วมกันเขียนเรื่องต่างๆ ขึ้น แบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชา คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
          ทรงก่อตั้งกองทุนนวฤกษ์ ในมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อช่วยให้นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ทั้งยังพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนริเริ่มในการก่อสร้างโรงเรียนตามวัดในชนบท สำหรับที่จะสงเคราะห์เด็กยากจนและกำพร้า ให้ได้มีสถานที่สำหรับศึกษาเล่าเรียน โดยอาราธนาพระภิกษุเป็นครูสอนในวิชาสามัญต่างๆ ที่ไม่ได้ขัดต่อพระธรรมวินัย ตลอดจนช่วยอบรมศีลธรรมแก่เด็กนักเรียน ทั้งนี้ เป็นพระราชประสงค์ที่จะให้เด็กนักเรียน ได้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการศึกษาควบคู่กันไป อันจะทำให้เยาวชนของชาติ นอกจากจะมีความรู้ด้านวิชาการแล้ว ยังจะทำให้มีจิตใจที่ดี ที่ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม เพื่อที่จะได้เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติต่อไป ในอนาคต
          โรงเรียนร่มเกล้า ก็เป็นสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ในหลายจังหวัดที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริ ที่จะให้ทหารออกไปปฏิบัติภารกิจในท้องที่ทุรกันดาร ได้ทำประโยชน์ต่อชุมชน และมีส่วนช่วยเหลือประชาชนในด้านการศึกษา ตามโอกาสอันควร โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้ทหารจัดสร้างโรงเรียนขึ้นในจังหวัดนครพนม จังหวัดสกลนคร จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนสถานศึกษาสำหรับเยาวชน และยังเป็นการส่งเสริมความเข้าใจอันดี ระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารที่ไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่นั้นๆ กับราษฎรเจ้าของท้องที่อีกโสตหนึ่งด้วย ซึ่งในการดำเนินงานจัดสร้างโรงเรียน ทางฝ่ายทหารได้ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และฝ่ายศึกษาธิการ เพื่อเลือกสถานที่ตั้งโรงเรียนที่เหมาะสมกับความจำเป็นที่สุด ซึ่งปรากฎว่าราษฎรในท้องที่ที่มีการสร้างโรงเรียน ได้พากันร่วมอุทิศแรงกายช่วยในการก่อสร้าง ตลอดจนอุทิศทุนทรัพย์สมทบเป็นทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ที่จะนำไปใช้ในการก่อสร้างโรงเรียน เพื่อเป็นการโดยเสด็จพระราชกุศลด้วย และเมื่อการก่อสร้างโรงเรียนแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโรงเรียนเหล่านั้น พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า โรงเรียนร่มเกล้า ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งโรงเรียนระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นสืบราชสัตติวงศ์ต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐา เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๙ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๙ จากวันนั้นจนถึงวันนี้ เป็นเวลาเกือบ ๖๐ ปีที่พระองค์ทรงดำรงฐานะเป็นพระประมุขของชาติ เป็นระยะเวลาการครองราชย์ที่ยาวนานกว่าบูรพกษัตริย์องค์ใดในประเทศสยาม และเป็นเวลาเกือบ ๖๐ ปีนี้เอง ที่พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญาความสามารถ และพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอยู่เป็นนิจ ด้วยหวังให้มหาชนชาวสยามถึงพร้อมด้วยประโยชน์สุข ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ตั้งแต่สมัยเมื่อเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ดังพระปฐมบรมราชโองการที่ได้พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยเมื่อครั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ว่า
เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดพระองค์หนึ่งของโลก พระราชกรณียกิจของพระองค์มีมากมาย ทั้งในด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านศาสนา ด้านความมั่นคงภายในประเทศ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านศิลปะวัฒนธรรม และด้านการกีฬา แต่พระราชกรณียกิจหลักของพระองค์คือ การยกระดับสภาพความเป็นอยู่ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังท้องที่ต่างๆ พร้อมทอดพระเนตรสภาพปัญหาในท้องที่เหล่านั้นด้วยพระองค์เอง พระองค์จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละปี เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักตามภูมิภาคต่างๆ และจะทรงหาโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียงอยู่เสมอ จนอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีพื้นที่แห่งใดในประเทศไทย ที่พระองค์ไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินไปถึง
และเป็นเวลาเกือบ ๖๐ ปีนี้เอง ที่พสกนิกรชาวไทยอยู่ได้อย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มพระบารมี พระราชกรณียกิจทั้งหลายที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ที่พระองค์ทรงมีต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย