วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

น้ำพระราชหฤทัย...มากล้น


ภาพรวมการบริหารจัดการน้ำตามแนวทางของในหลวง  บริหารตั้งแต่น้ำจากฟ้าจนถึงน้ำใต้ดิน
เช่น ฝนหลวง เขื่อนบนดิน เขื่อนใต้ดิน ฝายชะลอน้ำ อีก 10 ปีข้างหน้าน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ เราจะทำอะไรกันบ้างไหมเพื่อที่จะจัดการกับเรื่องนี้  สงครามแย่งน้ำกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต รุนแรงยิ่งกว่าสงครามน้ำมัน
            ป่าต้นน้ำ เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ชีวิตของเราอยู่ได้ ทั้งอาหารการกิน เครื่องนุ่งห่ม  คนส่วนใหญ่ปลูกป่ากันแล้วไม่เคยดูว่ารอดหรือไม่   พระองค์ท่านปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกต้นไม้  แต่หาวิธีสร้างความชุ่มชื้นให้กับป่า  ที่เชียงใหม่ น้ำท่วม เพราะแหล่งน้ำตื้นเขินขึ้น มีขยะไปขวางกั้นทางไหลของน้ำ

Sufficiency economy may mean sustainable economy (2)

หลักสำคัญห้าประการนี้ได้มีการนำไปปฏิบัติตามอย่างรอบคอบโดยทุกภาคส่วนในสังคมไทยและทำให้เรารอดพ้นจากการได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ในพระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตอนหนึ่งกล่าวว่า “การได้เป็นเสือ[เศรษฐกิจ]นั้นไม่สำคัญ สิ่งซึ่งสำคัญสำหรับพวกเราคือการมีเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งหมายถึงการมีเพียงพอให้อยู่รอดได้”
นาย Warr กล่าวว่า  “หลักการของเศรษฐกิจพอเพียงระบุว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมิได้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาความอยู่ดีมีสุขของคน และการมุ่งเน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากเกินไปกว่าสิ่งสำคัญอื่นๆ อาจทำให้เกิดความทุกข์ พูดโดยสั้นๆคือหลักเหตุผลของทางสายกลาง”
เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นถึงความชาญฉลาดของแนวทางนี้และอันตรายจากการเพิกเฉยต่อการปฏิบัติตามแนวทางนี้ เขากล่าวว่า “แนวความคิดนี้ได้รับการพิสูจน์อย่างชัดเจนจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสุขภาพจิตในช่วงที่ผ่านมา”
เขายังกล่าวเพิ่มเติมว่าในประเทศต่างๆส่วนใหญ่ นโยบายสาธารณะยังไม่สามารถสื่อถึงวิสัยทัศน์อันลึกซึ้งนี้ได้ “คุณค่าของคนในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่ร่ำรวยได้ถูกประเมินค่าไว้สูงมากเกินไป”
หวังว่ามุมมองของนายกอภิสิทธิ์ที่มีต่อหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะสามารถช่วยเหลือคนอื่นๆให้สามารถสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความผาสุกของประเทศชาติอย่างยั่งยืนได้
แปลจากบทความ “Sufficiency economy may mean sustainable economy
ของ ”K I Woo” ใน The Nation ฉบับวันที่ 10 ตุลาคม 2552

Sufficiency economy may mean sustainable economy (1)


เหตุผลสำคัญคือคำว่า “พอเพียง” ซึ่งบางคนตีความว่าหมายถึงหลักปรัชญาที่คับแคบซึ่งอาจจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยย้อนกลับไปสู่ยุคหิน
บางทีหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอาจจะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางไปทั่วโลกถ้าหากมันถูกเปลี่ยนชื่อเป็นหลักปรัชญา “เศรษฐกิจยั่งยืน”
ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติที่ได้รับการยอมรับหลายท่าน รวมถึงนาย Peter Warr แห่ง Australian National University ได้ศึกษาพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอย่างละเอียดมาเป็นเวลาหลายปี
นาย Warr ได้ยกพระราชดำรัสที่พระราชทานไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.. 2542 ว่า
“เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักปรัชญาที่เน้นการจัดการอย่างเหมาะสมและการดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณโดยพิจารณาแนวทางการจัดการทั้งหมด และความจำเป็น ที่จะต้องมีการป้องกันแรงกระทบทั้งภายในและภายนอกอย่างเพียงพอ”   
ในบทความของนาย Warr ซึ่งตีพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้ใน GH Bank Housing Journal เขาได้กล่าวว่ามี “หลักการสำคัญห้าประการ” จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา
“ได้แก่  ความสำคัญในการกำหนดเป้าหมายสำคัญอย่างสมเหตุสมผลและเหมาะสม (มีเหตุมีผล)  ความสำคัญของการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่ไม่จำเป็นในการดำเนินตามเป้าหมาย (พอประมาณ)  ความพอใจยินดีที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง (มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี) ในขณะเดียวกันก็ยังคงมีความตระหนักถึงการปกป้องตนเองจากสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจมีการผันแปรไป (ความรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) และมีการตระหนักรู้ถึงการใช้ชีวิตที่ไม่ยึดติดกับวัตถุ (คุณธรรม)”
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้แสดงให้เห็นถึงแต่ละหลักการทั้งห้าดังกล่าว ซึ่งความสัมพันธ์กันในหลักการทั้งห้าของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถทำความเข้าใจได้ในหลายระดับ ในระดับปัจเจกบุคคล หลักการทั้งห้าให้แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินชีวิตโดยประหยัดซึ่งก็จะมีผลดีต่อระดับชุมชนและองค์กร สำหรับในระดับประเทศหลักการทั้งห้าก็มีความสัมพันธ์อย่างมากกับการบริหารประเทศในการปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสว่า ความพอเพียงหมายถึงการมีอย่างเพียงพอที่จะใช้ในการดำเนินชีวิต ความพอเพียงยังหมายถึงการดำเนินชีวิตอย่างสุขสบายอย่างพอประมาณ ไม่มากเกินไป หรือไม่ตามใจตัวเองในสิ่งฟุ่มเฟือยมากเกินไป  โดยบางสิ่งที่อาจดูเหมือนฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อแต่หากนำมาซึ่งความสุขก็อาจจะยอมรับได้ เมื่อเป็นการทำในระดับปัจเจกบุคคล
บทวิจารณ์เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในช่วงแรกหลายบทวิจารณ์เข้าใจว่าหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งที่คล้ายคลึงกับแนวทางพระราชดำริซึ่งทรงแนะนำให้กับเกษตรกรที่เรียกว่า “ทฤษฎีใหม่” ผู้สังเกตการณ์บางคนเริ่มที่จะคิดว่าหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นที่จะย้อนกลับไปใช้ชีวิตแบบพอเพียง แบบเกษตรกร และดำรงชีพโดยใช้เฉพาะแต่สิ่งที่จำเป็น
และแล้วเมื่อเวลาผ่านไปหลายคนก็ได้เริ่มตระหนักว่าหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นการปฏิบัติอย่างพอดีพอประมาณตามหลักการห้าข้อดังกล่าวข้างต้น โดยสามารถนำไปใช้ได้ทั้งบุคคลที่มีอาชีพต่างๆ องค์กร บริษัท หน่วยงาน จนถึงระดับรัฐบาล

แปลจากบทความ “Sufficiency economy may mean sustainable economy
ของ ”K I Woo” ใน The Nation ฉบับวันที่ 10 ตุลาคม 2552

ความสามัคคีของคนในชาติ

การปลูกฝังความสามัคคีของคนในชาติ

  นศท. อภิสิทธิ์  ทองสง่า  ชั้นปีที่ 2  รร.เขื่องในพิทยาคาร
               ประเทศไทยเป็นประเทศที่สามารถดำรงความเป็นปึกแผ่นของชาติไว้ได้ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศต่าง ๆมีความเป็นอิสระภาพในการปกครองอันนำมาซึ่งความเป็นเอกราชของประเทศ ทั้งดินแดนศักดิ์ศรี สัญชาติ ศาสนา และที่สำคัญคือความเป็นไทยสายเลือดผู้กล้าแห่งบรรพบุรุษและเหล่านักของไทยได้เสียสละ พลีชีพเพื่อปกป้องชาติบ้านเมือง หลายครั้งในอดีตสมัยประวัติศาสตร์ต้องมีการทำศึกสงครามเพื่อแย่งชิงการครอบครองดินแดน ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ถุกรุนรานจากอารยชาติที่เข้ามายึดดินแดนไทย แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของบรรพบุรุษที่พรั่งพร้อมด้วยความกล้า และรักชาติที่สำคัญคือความสามัคคีในกองทัพ ทำให้สามารถดำรงมาซึ่งความเป็นไทยจนถึงปัจุบันนี้
               ความสามัคคีที่ทำให้ประเทศไทยดำรงมาถึงปัจจุบัน นับเป็นความสามัคคีที่หาได้ยาก เพระาการทำสงครามมีหลายร้อยชีวิตที่ร่วมต่อสู้กัน เพื่อนำมาซึ่งชัยชนะของฝ่่ายตน คำว่า"สามัคคี" หมายถึงการร่วมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน          

ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

บทความ เรื่อง ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
โดย นศท.ณัฐรินทร์  รัตนะพิบูลย์ ชั้นปีที่ 3
โรงเรียนเบญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี

                ตลอดระยะเวลาอันยาวนานของประวัติศาสตร์ไทย เราจะเห็นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักที่ยึดเหนี่ยวชาติของเราทุกยุคทุกสมัย และพระมหากษัตริย์ไทยแต่ละองค์นั้นก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้  ด้วยเหตุนี้ผมจึงไม่แปลกใจเลยที่ทุกหนทุกแห่งในแผ่นดินไทยจะสามารถสัมผัสถึงความจงรักภักดีของประชาชนชาวไทยที่มีต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหัวรัชกาลปัจจุบัน
                ผมเชื่อว่าคนไทยหลายคนอาจเคยได้อ่านหรือได้ฟังความยิ่งใหญ่ของพระราชาจากในนิทานเราจะเห็นได้ว่าพระราชาในนิทานนั้นล้วนมีคุณธรรม มีความกล้าหาญ มีความสามารถมากมายสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ก็เป็นเพียงนิทานสอนใจเราถึงแบบอย่างกษัตริย์ที่ทรงไว้ทศพิธราชธรรม แต่สำหรับผมนั้นยังมีจอมกษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาอยู่พระองค์หนึ่งที่มิใช่เป็นเพียงจอมกษัตริย์ในนิทานนั่นคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช “ พ่อ “ที่ปวงชนชาวไทยต่างรักและภักดีอย่างสุดหัวใจ ตลอดเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์นั้นไม่มีแม้เพียงสักครั้งที่จะไม่เห็นพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนของพระองค์ในถิ่นทุรกันดาร จนอาจกล่าวได้ว่าแผ่นดินไทยตั้งแต่เหนือจรดใต้ยังไม่มีที่ใดที่พระองค์จะเสด็จไปไม่ถึง ความยิ่งใหญ่ของพระองค์จึงมิใช่สิ่งที่เราอ่านพบในนิทานเท่านั้น เพราะพระองค์ได้ทรงเป็นแบบอย่างแห่งจอมกษัตริย์ผู้เปี่ยมไปด้วยทศพิธราชธรรม ผมจึงรู้ซึ้งถึงคำมั่นสัญญาที่พระองค์ทรงให้ไว้กับปวงชนชาวไทยที่ว่า “ เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวไทย ” บัดนี้ได้เป็นที่ประจักษ์ต่อพสกนิกรชาวไทยของพระองค์แล้วว่า พระองค์ได้ทรงกระทำตามคำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้กับพสกนิกรของพระองค์มิได้บกพร่องแต่ประการใด
                สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมรู้สึกรักและเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคงไม่พ้น “ ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ” ผมมีความชื่นชมในแนวคิดของทฤษฎีเนื่องจากเป็นทฤษฎีการสร้างความสุขให้กับตัวเองได้ ดำรงชีวิตได้โดยไม่เดือดร้อนประเทศไทยเองก็เคยได้รับบทเรียนจากวิกฤตต้มยำกุ้งมาแล้วก็ควรที่จะน้อมรับเอาทฤษฎีนี้้ไปปรับใช้กับตนเอง คอยเตือนสติตนเองว่าวิกฤษที่เกิดขึ้นครั้งนั้นเกิดจากการที่เราก้าวไปเร็วเกินไป ความฟุ่มเฟือยแสวงหาไม่รู้จักพอเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เราต้องเดือดร้อน พระองค์จึงสอนให้คนไทยมี "ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี" ความพอเพียงพอประมาณก็คือให้เราสำรวจตัวเองว่าเรามีกำลังทรัพย์เท่าไร ควรพอได้หรือยัง ความมีเหตุผลก็คือการที่เราต้องคิดให้รอบคอบว่าสิ่งที่เราต้องการนั้นมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด สุดท้ายคือการมีภูมิคุ้มกันที่ดีรู้จักระงับยับยั้งความอยากได้อยากมีของตนเอาไว้ เลือกเดินทางสายกลาง ซึ่งสิ่งเหล่านี้พระองค์ได้ทรงสั่งสอนให้คนไทยทุกคนได้รับรู้รับทราบโดยทั่วกันแล้วว่าเป็นแนวทางการสร้างความสุขให้กับตนเองโดยไม่ต้องแลกมาด้วยสิ่งใด
                นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทรงให้ความสำคัญกับ"เกษตรทฤษฎีใหม่"โดยได้ทรงเปลี่ยนพระราชวังของพระองค์เองให้กลายเป็นแปลงสาธิตการเกษตร ทรงทำการทดลองเลี้ยงโคนม ปลานิล ทรงปลูกข้าวด้วยพระองค์เอง พระองค์จึงเป็นกษัตริย์พระองค์เดียวในโลกที่ทรงทำการเกษตรด้วยพระองค์เองและทรงเปลี่ยนพระราชวังของพระองค์ให้กลายเป็นแปลงสาธิตเกษตร พระองคืจึงเป็นจอมกษัตริยืผู้อุทิศตนเพื่อปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง เมื่อได้ความรู้ใหม่มานั้นพระองค์ก็ยังทรงถ่ายทอดวิทยาการต่าง ๆที่ทรงได้ทดลองมานั้นให้กับเกษตรกรชาวไทย ส่งเสริมให้เกิดโครงการต่าง ๆขึ้นมากมายสร้างอาชีพ สร้ารายได้ กระจายสู่สังคมอย่างทั่วถึงส่งผลให้ลูกหลานชาวไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและยังทรงให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาจากภัยธรรมชาติอันเกิดจากสภาพแวดล้อมในภูมิภาคต่าง ๆทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างฝายชะลอน้ำ การปลูกกำแพงหญ้าแฝกพลิกฟื้นสภาพดิน การปลูกป่าชายเลนป้องกันน้ำทะเลกัดเซาะ โครงการฝนหลวง การบำบัดน้ำเสียในแม่น้ำด้วยผักตบชวา พระอัจฉริยภาพของพระองค์ในด้านการสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาของพระองค์จึงเป็นที่ยอมรับจากคนทั่วทั้งโลกว่าพระองค์ทรงเป็น "ยอกกษัตริย์นักพัฒนา ผู้ประสบความสำเร็จในการพัฒนามนุษย์อย่างยั่งยืน" แม้เวลาจะผ่านล่วงเลยมากว่า 64 ปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานอย่างหนัดเพื่อพสกนิกรชาวไทยของพระองค์ แต่พระราชกรณียกิจ พระจริยวัตรอันงดงามที่พระองค์ทรงยึดถือปฏิบัติมาตลอดจะเป็นแบบอย่างจอมกษัตริย์ผู้ปี่ยมไปด้วยทศพิธราชธรรม เราในฐานะพสกนิกรชาวไทยผู้จงรักภักดีจึงควรถามตนเองได้แล้วว่าจะทำอย่างไรให้กับประเทศไทยมีความสงบสุข และร่วมเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์สิ่งดีงามตามแนวพระราชดำริของพระองค์ท่านให้อยู่คู่กับผืนแผ่นดินไทยตราบนานเท่านาน

เทิดทูน ปกป้อง สถาบันหลัก


จะเหลืออะไรถ้าชาติมีคนชั่ว       จะเหลืออะไรถ้ามัวแต่ปิดกั้น
จะเหลืออะไรถ้าไม่ช่วยกันฝ่าฟัน   อุปสรรคที่ขวางกั้นให้พ้นไป
จะเหลืออะไรถ้าชาติขาดคนดี   จะเหลืออะไรแม้ชีวีที่มีอยู่
 จะเหลืออะไรถ้าไม่ช่วยกันกอบกู้   ช่วยเชิดชูชาติไทยให้รุ่งเรือง
จงร่วมมือร่วมใจสร้างไทยเถิด  ช่วยกันเชิดชูไทยให้เกียรติก้อง

           ในช่วงสถานการณ์ที่ผ่านมา ข้าพเจ้าค่อนข้างสับสนกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ความเสื่อมถอยในด้านต่างๆของสังคมไทย การหลงลืมวัฒนธรรมประเพณีของความเป็นไทย การแตกความสามัคคีแบ่งสีแบ่งฝ่าย หลงลืมความมีน้ำใจของตนเอง หลงลืมความเป็นไทยที่มีจิตใจที่ดีงาม
            เมื่อข้าพเจ้าเป็นเด็ก ข้าพเจ้าถูกพร่ำสอนเสมอว่าเราต้องรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รักความเป็นไทยของเรา ครูมักถามเสมอว่า ใครอยากเป็นทหารบ้าง เพื่อนๆของข้าพเจ้ายกมือกันพรึบ ซึ่งรวมทั้งข้าพเจ้าด้วย ครูบอกว่า ทหารมีหน้าที่เป็นรั้วของชาติ ปกป้องอันตรายจากรอบด้านของประเทศไทย ให้คนไทยทุกคนได้อยู่อย่างสงบสุขบนผืนแผ่นดินไทย ซึ่งก็คือประเทศไทยที่ข้าพเจ้าเคยภาคภูมิใจว่า “เป็นประเทศที่ไม่เคยแพ้ชาติใดในโลก” เริ่มที่จะจางหายไป ประเทศไทยที่ข้าพเจ้าเคยคิดว่าเป็นประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก ประเทศไทยที่มีอาหารอร่อยที่สุดในโลก ไม่มีประเทศไหนที่อร่อยไปกว่าประเทศไทยอีกแล้ว ประเทศไทยที่ข้าพเจ้าเคยได้ยินมาว่าเมืองแห่งการยิ้ม หรือว่า “สยามเมืองยิ้ม” หายไปที่ใดแล้ว เหลือแต่ประเทศไทยที่มีแต่ความแตกแยก การเข่นฆ่ากันเองมีอยู่ทุกที่ทุกเวลา
            ข้าพเจ้าคิดว่าเมื่อสังคมไทยเราแตกแยก เราจำเป็นจะต้องปลูกจิตสำนึกให้ผู้คนรักแผ่นดินเกิด กตัญญูต่อแผ่นดิน กตัญญูต่อชาติ การปลูกจิตสำนึกการเป็นคนไทยของข้าพเจ้านั้น ก็มีหลายวิธี ทั้งการพูด การกระทำ และการร่วมใจกัน เพลงที่ปลูกจิตสำนึกความเป็นคนไทยนั้นก็มีอยู่มากมาย โดยเฉพาะเพลงชาติ ที่สื่อความหมายความเป็นชาติไทยได้เป็นอย่างดี ทั้งเพลงลูกเสือเนตรนารี หรือเพลงอื่นๆ ที่สื่อความหมายให้คนรู้สึกรักแผ่นดินก็มีมากมายแต่พวกเราชาวไทยทุกคนก็จะต้องร่วมใจกัน เมื่อร่วมใจกันได้แล้ว ก็ร่วมกระทำร่วมปฏิบัติต่อกัน ร่วมฟื้นฟูแผ่นดินไทยของเราให้เป็นแผ่นดินใหม่ที่น่าอยู่ ร่วมประสานไมตรีจิตต่อกัน เพราะว่าเราคนไทยทุกคนมีศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติเหมือนกัน ก็คือ สถาบันชาติ สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ก็ยังมีสถาบันครอบครัว การศึกษา ชุมชน องค์กรท้องถิน องค์กรสาธารณะกุศลทั้งหลาย เป็นต้น ข้าพเจ้าคิดว่าถ้าเราร่วมใจกันสร้างสรรค์ความสามัคคีแล้ว ก็มิใช่เรื่องยากเลย น่าจะทำควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของเราด้วย แก้ไขปัญหาคนว่างงาน โดยการอบรมหลักวิชาชีพให้เขาด้วย และก็ควรที่จะอบรมคุณธรรมจริยธรรม ความรักสามัคคีต่อกันควบคู่ไปด้วย แจกเงินแล้ว ก็ต้องแจกจิตสำนึกที่ดีให้กับสังคมด้วย เราต้องให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เมืองไทยเรานั้นที่ได้ชื่อว่าเมืองแห่งการยิ้ม เมืองที่รักความสงบสุข ทำอย่างไรเราจะปลูกจิตสำนึกความเป็นคนไทย ให้คนไทยหันมายิ้มต่อกันได้ และรักที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้ คนไทยทุกคนก็ควรที่จะช่วยกันทำ
        ที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าหากเราทุกคนช่วยกันทำ ไม่เกี่ยงกัน ไม่แบ่งพรรคแบ่งสีแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ควรจะตระหนักว่าเราอยู่ใต้ผืนธงชาติผืนเดียวกันมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นที่พึ่งทางใจเหมือนกัน หากคนไทยไม่รักกันแล้วใครจะมารักเรา หากคนไทยไม่หวงแหนความเป็นชาติไทยของเราใครจะมาหวงแหนให้เราดังบทกลอนที่ว่า
            ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง        แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
            ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง       จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง

นศท.สมภาร  สีบุตรดี  ชั้นปีที่ 3 ร.ร.โพธิ์ธาตุประชาสรรค์