วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความจริงใจและความตั้งใจจริง

ความจริงใจและความตั้งใจจริง จะสามารถยืนหยัด บงการกระทำของปัจเจกบุคคลอยู่ตลอดเวลา และอย่างสม่ำเสมอได้ ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นมีพลังใจหรือกำลังใจที่จะทำเช่นนั้นประกอบด้วย คนที่มีกำลังจิตหรือกำลังใจเป็นคนที่สามารถควบคุมจิตใจของตัว เขาจะเห็นสว่างว่าอะไรดีอะไรไม่ดี และในที่สุดจะประสบความเจริญความสำเร็จทุกอย่าง ไม่ใช่ว่าจะกอบโกยทรัพย์มากหรืออำนาจมาก แต่ว่าทำอะไรด้วยสุขภาพจิตที่ดี คนที่เรียกว่ามีกำลังใจที่ดี ที่ถูกต้องนั้นทำอะไรง่าย ทุกสิ่งทุกอย่างง่ายหมด ไม่ใช่ง่ายเพราะว่าเราทำชุ่ยๆ ง่ายเพราะเราสามารถที่จะคิดรอบคอบเพราะสุขภาพจิตที่ดี รอบคอบทุกทางทั้งทางด้านวิชานั้นๆ ทั้งด้านวิธีการและทั้งในวิชาการและในการวางตัว
(๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐)
ด้วยแนวพระราชดำริเช่นนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จึงทรงมีพระราชดำรัสว่า
สุขภาพจิตสำคัญกว่าสุขภาพด้วยซ้ำ เพราะว่าคนไหนที่ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง แต่จิตใจฟั่นเฟือนไม่ได้เรื่องนั้น ถ้าทำอะไรก็จะยุ่งกันได้ กายที่แข็งแรงนั้นก็จะไม่เป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือสังคมอย่างใด ส่วนคนที่สุขภาพกายไม่สู้จะแข็งแรงแต่สุขภาพจิตดี หมายความว่าจิตใจดี รู้จักจิตใจของตัวและรู้จักปฏิบัติให้ถูกต้อง ย่อมเป็นประโยชน์ต่อตัวเองมาก และเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้มาก ในที่สุดสุขภาพจิตที่ดี ก็อาจจะพามาซึ่งสุขภาพทางกายได้...”
(๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐)

ความจริงใจต่องาน

ในอรรถาธิบายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน เกี่ยวกับความจริงใจต่องานนั้น พระองค์ได้ทรงกล่าวถึงการ ตั้งสัตย์สัญญาแก่ตัวเอง ของผู้ที่มีความจริงใจ อันเป็นการ ตั้งสัจจะที่จะปฏิบัติโดยเต็มกำลังหรือ มีสัจจอธิษฐานต่อภาระหน้าที่และกิจทั้งปวงของตนที่มีอยู่
(๑๕ กรกฏาคม ๕๒๑)

สำหรับผู้ที่มีความจริงใจในการปฏิบัติตนในลักษณะเช่นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริแล้วกล่าวเป็นนัยได้ว่า ผู้มีความจริงใจ ก็จะเป็นผู้ที่มีความหนักแน่นในสัจจะ ในหน้าที่การงานของตนลักษณะเช่นนี้ก็สมควรเป็นคุณสมบัติของผู้ที่จะชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาด้วย ดังปรากฏเป็นความตอนหนึ่งของพระบรมราโชวาทที่อัญเชิญมาในที่นี้

ผู้ที่มีปัญญาสามารถจะทำการงานสำคัญๆ ให้เป็นหลักเป็นกำลังของ
บ้านเมืองต่อไป ได้นั้น จะต้องเป็นผู้ที่หนักแน่นในสัจจะ คือต้องมีจริง
พร้อมทั้งในคำพูดในการกระทำในบุคคลอื่น และในตนเอง
สิ่งใดที่ตั้งใจจริงจะทำหรือจะงดเว้น
ต้องปฏิบัติให้ได้โดยเคร่งครัดครบถ้วน...”
(๒๘ ตุลาคม ๒๕๒๑)

“ความจริงใจ”

การมีสติและปัญญา แม้จะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่คู่กับความรู้เพื่อการทำงานที่ได้ผล แต่ก็ยังไม่พอเพียงสำหรับการที่จะประสบผลสำเร็จในการทำงาน ปัจเจกบุคคลจึงต้องมี ความจริงใจ ประกอบด้วย แนวคิดเช่น นี้ ปรากฏในพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งขออัญเชิญมาเป็นตัวอย่างดังนี้
ความผิดพลาดล้มเหลวของบุคคลหรืภารกิจ ต่างๆ นั้น ส่วนมากเกิดจากมูลเหตุข้อใหญ่คือความหลอกตัวเอง หลอกกันและกัน และเมื่อการทำงานโดยไม่อาศัยความจริงเป็นหลัก การดำเนินงานและการปรับปรุงแก้ไขก็ผิดพลาด ไม่อาจทำให้งาน ให้ตนเองประสบผลสำเร็จที่ดีได้ นักปฏิบัติงานเพื่อความสำเร็จและความเจริญ จึงต้องยอมรับความจริงและยึดมั่นในความจริง มีความจริงใจต่อตัวเองและต่อกันและกันอย่างมั่นคงตลอดเวลา แต่ละคนจึงจะปฏิบัติตัวปฏิบัติงานได้อย่างสะดวกใจ มั่นใจถูกต้องเที่ยงตรงตามเป้าหมายและพอเหมาะพอดี แก่ฐานะ แก่หน้าที่ แก่โอกาส พร้อมทุกอย่างได้ ยังผลให้การสร้างสรรค์ความดีความเจริญบรรลุศุภผลอันพึงประสงค์...”
(๑๕ กรกฏาคม๒๕๒๖)

ความจริงใจที่กล่าวถึงนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงให้รายละเอียดว่า มีอยู่สองลักษณะด้วยกันได้แก่
() “ความจริงใจต่อผู้ร่วมงาน ซึ่งมีลักษณะประกอบด้วยความ
      ซื่อตรงเมตตา
หวังดี พร้อมเสมอที่จะร่วมมือช่วยเหลือ และ
      ส่งเสริมกันทุกขณะ
() “ความจริงใจต่องาน มีลักษณะเป็นการตั้งสัตย์อธิษฐาน
       หรือการตั้งใจจริงที่จะทำงานให้เต็มกำลัง    กล่าวคือ
       เมื่อได้พิจารณาด้วยปัญญาเป็นที่แน่ชัดแล้ว ว่างานที่
       จะทำนั้นเป็นประโยชน์จริง ก็ตั้งสัตย์สัญญาแก่ตัวเอง
       ผูกพัน
บังคับตัวเองให้กระทำจนเต็มกำลังความรู้ความ
       สามารถ ให้ได้ผลดีที่สุด

ความจริงใจสองประการนี้ พิจารณาดูแล้ว จะเห็นว่า
เป็นปัจจัยสำคัญที่จะ
ป้องกันกำจัดปัญหาขัดแย้งและ
ความย่อหย่อนล่าช้าได้สิ้นเชิง...”



การมีปัญญา2


เมื่อปัจเจกบุคคลมีปัญญาติดตัวแล้ว ก็มิบังควรประมาทปัญญาของตนเอง กล่าวคือ ต้องมีการใช้ปัญญาอยู่เสมอเป็นประจำ ทั้งนี้เพราะว่าถ้า
ไม่ใช้ปัญญาเป็นหลักทำงาน เพราะละเลยหรือเพราะนึกดูหมิ่นตัวเองว่าโง่เขลาแล้ว อคติ ความลุ่มหลง ความเพ้อฝันก็จะเข้ามาแทนที่แล้วจะหวังอะไรได้จากสิ่งเหล่านั้น นอกจากความวิบัติเสียหาย ทุกคนจึงจำเป็นต้องใช้ปัญญาตลอดเวลาและตลอดชีวิต
(๒๑ มิถุนายน ๒๕๒๑)


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้พระราชทานพระบรมราโชวาทเพื่อเป็นแนวปฏิบัติเพิ่มเติมว่า


นอกจากไม่ประมาทปัญญาตนเองแล้ว ยังประมาทปัญญาคนอื่นไม่ได้ด้วยเพราะการประมาทหมิ่นปัญญาคนอื่น ไม่ยอมทำตามความคิดและความรู้ของคนอื่นนี่แหละเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้งานต่างๆ ต้องหยุดชะงัก ต้องเริ่มต้นใหม่อยู่ร่ำไป และต้องล้มเหลวมามากกว่ามากแล้ว ผู้มีความคิดควรจะต้องเข้าใจว่า ปัญญาของผู้อื่น ที่เขาคิดมาดีแล้ว ได้ใช้มาดีแล้วในการงานนั้น ย่อมเป็นพื้นฐานอย่างดีสำหรับเรา ที่จะก่อตั้งสร้างเสริมความเจริญงอกงามมั่นคงต่อไป การประมาทปัญญาผู้อื่นจึงเท่ากับไม่ได้ใช้พื้นฐานที่มีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์ ซ้ำยังรื้อถอนออกเสียอีกด้วย ด้วยความโง่เขลา จึงจำเป็นที่จะต้องหัดนับถือปัญญาผู้อื่นกันให้เป็น เพื่องานที่ทำจักได้ดำเนินต่อเนื่องกันไปได้ไม่ติดขัดปฏิบัติง่าย และสำเร็จประโยชน์อันสมบูรณ์ตรงตามความมุ่งประสงค์ได้โดยสะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์...”
(๒๑ มิถุนายน ๒๕๒๑)
การดูถูกดูแคลนปัญญาของบุคคลอื่นจึงเป็น แนวปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง และได้ทรงแนะนำให้คนไทยโดยเฉพาะในหมู่ผู้มีการศึกษาสูงหลีกเลี่ยงการกระทำเช่นนั้น พระบรมราโชวาทในประเด็นนี้มีความสำคัญยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อปรากฏเท่าที่สามารถค้นคว้ามาได้ว่า ในวงการวิชาการและวงการศึกษาไทยไม่มีการชี้แนะในลักษณะนี้เลยและไม่มีการตระหนักถึงผลเสียที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมเชิงลบดังกล่าว

การมีปัญญา1

การทำความรู้ความคิดให้แจ้ง โดยมีอุเบกขาเป็นตัวการค้ำจุนนี้ จัดได้ว่าเป็นบ่อเกิดที่สำคัญของปัญญา นั่นเองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเน้นความสำคัญของปัญญาพร้อมกับทรงให้ความหมายของคำว่า ปัญญาดังนี้
ปัญญา แปลตามพยัญชนะว่า ความรู้ทั่ว ตามอรรถะหมายความ ได้หลายอย่างอย่างหนึ่ง คือความรู้ทุกอย่าง ทั้งที่เล่าเรียนจดจำมา ที่พิจารณาใคร่ครวญคิดเห็น ขึ้นมาและที่ได้ฝึกฝนอบรมให้คล่องแคล่วชำนาญขึ้นมาในตัวเอง อีกอย่างหนึ่งเมื่อมีความรู้จัดเจนชำนาญในวิชาต่างๆ ดังว่า จะยังผลให้เกิดเป็นความเฉลียวฉลาดขึ้นในตัวบุคคล แตะประการสำคัญคือความรู้ที่ผนวกกับความเฉลียวฉลาดนั้น จะรวมกันเป็นความสามารถพิเศษขึ้น คือความรู้จริงรู้แจ้งชัด รู้ตลอดในสิ่งที่ได้มีโอกาสศึกษา ซึ่งจะให้ผลต่อไปเป็นความรู้เท่ากัน เป็นต้นว่ารู้เท่าทันความคิดจริต ทฤษฎี และเจตนาของคนทั้งปวงที่สมาคมด้วย รู้เท่าทันเหตุการณ์สภาพการณ์ทั้งหลายที่ผ่านพบ เมื่อรู้เท่าทันแล้ว ก็จะรู้จะเห็นแนวทางและวิธีการที่จะหลีกให้พ้นอุปสรรคปัญหาและความเสื่อม ความล้มเหลวทั้งปวงได้ แล้วดำเนินไปตามทางที่ถูกต้องเหมาะสม จนบรรลุความสำเร็จและความเจริญวัฒนาที่มุ่งหมายไว้ ข้าพเจ้าใคร่ขอให้บัณฑิตแต่ละคนได้ศึกษาคือสำเหนียกตระหนักใจปัญญาตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต เพื่อประโยชน์ของตนของส่วนรวมตามที่ปรารถนา...”  (๑๔ กรกฎาคม ๒๕๒๑)

กล่าวในอีกลักษณะหนึ่ง ปัญญาก็คือ
ความฉลาดสามารถคิดพิจารณาเรื่องต่างๆ สิ่งต่างๆ ได้อย่างกระจ่างแจ่มชัด ซึ่งเกิดจากจิตใจที่มั่นคงเป็นกลาง ไม่ตกอยู่ในอำนาจอคติ และช่วยให้บุคคลสามารถค้นหาสาระเหตุผลของเรื่องทั้งปวงได้อย่างถุกต้องเที่ยงตรง ทั้งสามารถจำแนกแจกแจงความผิดถูก ชั่วดี ควรไม่ควร ในกิจที่ทำ คำที่พูด เรื่องที่คิดทุกอย่างได้...”(๑๕ กรกฎาคม ๒๕๒๖)

แต่ปัญญานั้นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขั้นในตัวบุคคลได้ง่ายๆ แม้จะผ่านการศึกษาในระดับสูงๆแล้วก็ตาม ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงให้พระบรมราโชวาทชี้แนะเพิ่มเติมว่า
การใช้ความคิดอ่านที่เป็นปัญญาดังกล่าวนั้น จำเป็นต้องฝึกหัดปฏิบัติอยู่เสมอเป็นประจำ ในทุกกรณี จึงจะมั่นคงแข็งแรง มิฉะนั้นปัญญาจะไม่เกิดขึ้นให้ท่าน จะยึดถือเอาเป็นประโยชน์ได้ทันการ ดังนั้น ไม่ว่าจะมีสิ่งใดให้คิดให้ทำไม่ว่าจะประสบพบเรื่องใดปัญหาใด ขอให้พิจารณา จนรู้ชัดอยู่เสมอจงทุกคราวไป การฝึกปัญญานี้ ถ้าพากเพียรฝึกกันจิรงๆ เป็นประจำแล้ว ไม่ช้าไม่นานก็จะปฏิบัติได้เป็นปรกติหรือเป็นนิสัย...”  (๒๗ ตุลาคม ๒๕๒๑)

การประยุกต์ใช้ความรู้

การประยุกต์ใช้เทคนิควิทยา ก็มีลักษณะไม่แตกต่างไปจากการประยุกต์ใช้ความรู้ทั่วไปนั่นคือ วิทยาการและเครื่องมือกลเหล่านี้ เมื่อนำมาปฏิบัติการแล้ว จะต้องได้ผลอย่างสูงทุกครั้งไป คือถ้าใช้ถูก ก็ทำให้ได้ประโยชน์มาก ถ้าใช้ไม่ถูก ก็ทำให้เสียหายได้มากเท่าๆกัน (๑เมษายน ๒๕๒๕)
การประยุกต์ที่ได้ผล ก็คือ การพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนที่จะทำการใดๆ
 ทางแห่งความเจริญ คือ การพิจารณา การพิจารณานั้น เป็นการหยุดยั้งชังใจก่อนที่จะปฏิบัติการใดลงไปเสมือนกับได้ปรึกษากับตนเองก่อนถ้าหากทำสิ่งใดโดยมิได้พิจารณาแล้ว ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อแห่งอารมณ์ บังเกิดความประมาทขึ้น อันจะเป็นผลเสียหายแก่กิจการนั้นๆ ได้ ฉะนั้น ขอให้ทุกคนจงใช้ความพิจารณาให้รอบคอบ ก่อนที่จะประกอบกิจใดๆ (๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๑)

แม้ว่า การพิจารณาเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงให้พระบรมราโชวาทเพิ่มเติมว่า เพื่อให้บังเกิดผลที่แท้จริง การพิจารณาก็ต้องกระทำในลักษณะหนึ่ง ดังมีรายละเอียดแสดงไว้ในพระราชดำรัสบางส่วนที่ทรงพระราชทานให้แก่ สามัคคีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการเปิดประชุมใหญ่ปี ๒๕๒๓ เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๒๓ ดังนี้

การพิจารณาเรื่องราวหรือกิจการงานใดๆ นั้น ควรอย่างยิ่งที่จะต้องกระทำโดยละเอียดรอบคอบและเที่ยงตรงถูกต้องจึงจะได้ผลที่เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืนถาวร ท่านผู้รู้แต่ก่อนได้วางหลักสั่งสอนกันสืบๆ มาว่า เมื่อจะพิจารณาสิ่งใดเรื่องใดให้วางใจของตัวให้เป็นกลาง คือปลด อคติความลำเอียงทุกๆ ประการออกจากใจให้หมดก่อน แล้วเข้าไปเพ่งพินิจดูสิ่งนั้นเรื่องนั้นให้ถี่ถ้วน จึงจะมองเห็นได้ประจักษ์ทุกแง่ทุกมุม ไม่ใช่เห็นแต่เพียง
แง่ใดแง่หนึ่งตามความชอบใจหรือไม่ชอบใจที่มีอยู่ เมื่อเห็นประจักษ์ทั่วด้วยใจที่เป็นกลางแล้ว ความรู้ที่ชัดเจนก็จะบังเกิดขึ้น และช่วยให้ลงความเห็นและปฏิบัติได้โดยถูกต้องเป็นธรรม...”

ความรู้นี้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ

เพื่อการทำงานที่ประสบผลสำเร็จ ความรู้และความสามารถ (อันเกิดจากฐานความรู้ที่มีอยู่) ก็ย่อมเป็นปัจจัยพื้นฐานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังที่พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงให้ข้อคิดไว้ แต่ประเด็นที่ สำคัญกว่าเมื่อยอมรับข้อคิดนี้ก็คือปัจเจกบุคคล จะต้องมีความรู้ในลักษณะใด และจะต้องใช้ ความรู้ดังกล่าวอย่างไร
ความรู้อะไรนั้นไม่ใช่ประเด็นสำคัญ ตราบใดที่เป็นความรู้ที่ตั้งอยู่บนฐานวิชาการ แต่ก็ต้องเป็นความรู้ที่เกิดจากการรู้จริง และที่สำคัญก็คือ ต้องมีการใฝ่รู้และการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ดังปรากฏเป็นนัยจากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีความตอนหนึ่งว่า
ความรู้นี้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะว่าแต่ละคนอยากได้ความเจริญ ถ้าทำอย่างที่เคยทำมาด้วย ความรู้เท่าที่เคยมี ก็ได้ความสำเร็จในวงจำกัด แต่ถ้าเพิ่มความรู้ และยิ่งช่วยกันทำความสำเร็จนั้นจะยิ่งใหญ่ขั้น...” (๑๑ กันยายน ๒๕๑๕)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีทัศนะว่า



การที่ปัจเจกบุคคลจะประสบความสำเร็จในชีวิตความมุ่งหมาย และจัดเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสำหรับสังคม สำหรับประเทศไทยได้นั้นจะต้องมีองค์ประกอบหลักในสองด้านด้วยกัน คือ ปัจเจกบุคคลจะต้องเป็นผู้รู้
วิธีการทำงานที่ได้ผลเป็นประการแรก และบุคคลผู้นั้นจะต้องเป็นคนดีประการที่สองเมื่อกำหนดเงื่อนไขอื่นๆ ที่สมควรมีแล้ว การที่บุคคลหนึ่งๆ รู้วิธีการทำงานที่ได้ผลแล้ว ย่อมจัดเป็นบุคคลที่มีคุณภาพสูงกว่าผู้ที่ไม่รู้วิธีการทำงานที่ได้ผล โดยทำอะไรเป็นเรื่องราวไม่ได้หรือทำแล้วก็ไม่ประสบความสัมฤทธิ์ผลแต่อย่างใด แต่การจะทำงานให้ได้นั้น บุคคลผู้นั้นจักต้องมีคุณลักษณะต่างๆ หลายประการ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงกล่าวไว้ในพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่ชาวไทยกลุ่มต่างๆ ในโอกาสที่ต่างกัน ถึงแม้ว่าปัจเจกบุคคลจะมีคุณสมบัติต่างๆ เพื่อการทำงานที่ได้ผลแล้วก็ตาม แต่โอกาสที่บุคคลผู้นั้นจะประสบความสำเร็จในการครองชีวิตนั้นก็ยังไม่มีหลักประกันแต่อย่างใดเว้นเสียแต่ว่า บุคคลผู้นั้นเป็นคนดีที่พร้อมด้วยคุณสมบัติลักษณะหนึ่งเท่านั้น คุณลักษณะของความเป็นคนดีนั้นมีรายละเอียดปรากฏในพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่นนั้น และจะได้นำเสนออย่างเป็นระบบภายหลังที่ได้นำเสนอเนื้อหาในส่วนที่ว่าด้วยคุณลักษณะของการทำงานที่บรรลุผล 



“ในการสร้างความสำเร็จ ความเจริญ และเกียรติยศชื่อเสียงนั้น บัณฑิตมีวิชาความรู้เป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพพร้อมอยู่แล้ว ที่จะนำไปใช้งานได้ทันที แต่นอกจากวิชาความรู้ที่เป็นเครื่องมือแล้ว ทุกคนยังจะต้องมีรากฐานรองรับ พร้อมกับวิธีการใช้อย่างถูกต้องเที่ยงตรงประกอบอีกด้วย จึงจะสามารถสร้างประโยชน์ให้สำเร็จเพรียบพร้อมสมบูรณ์ได้ รากฐานที่ทุกคนต้องมีนั้น ได้แก่ ความหนักแน่น มั่นคงในสุจริตธรรมประการหนึ่ง ความมุ่งมั่นในการประกอบกิจการงานทุกอย่างให้สำเร็จอีกประการหนึ่งคนไม่มีความสุจริต คนไม่มีความมั่นคง ชอบแต่มักง่าย ไม่มีวันจะสร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้ ผู้ที่มีความสุจริตและความมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณเป็นประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ...” (๑๒ กรกฏาคม ๒๕๒๒)

ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ

คลิกที่ภาพขยายใหญ่ตามอัตราส่วน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
-ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจมาเป็นเวลายาวนานกว่า 60 ปี ด้วยพระวิริยะอุตสาหะ
 
มีพระอัจฉริยภาพสูงในการทรงงาน
-ทรงเป็นนักวิชาการที่ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้ศาสตร์ต่างๆ
-ทรงเป็นนักคิด ทรงมีทักษะในการวิเคราะห์
-ทรงคิดได้อย่างแหลมลึก มองเห็นถึงปัญหาที่ซ่อนเร้นได้
-ทรงเป็นนักบริหารที่ทุ่มเททางานเพื่อประชาชน
-ทรงเป็นนักปฏิบัติที่เข้าใจชัดเจนในวิธีการและเทคนิคที่ใช้ทรงงาน จนเกิดเป็นโครงการ
  ส่วนพระองค์
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดาริ เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของ
  พสกนิกรของพระองค์ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
- ทรงร่วมแก้ไขปัญหาด้านต่างๆทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ