วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การมีปัญญา1

การทำความรู้ความคิดให้แจ้ง โดยมีอุเบกขาเป็นตัวการค้ำจุนนี้ จัดได้ว่าเป็นบ่อเกิดที่สำคัญของปัญญา นั่นเองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเน้นความสำคัญของปัญญาพร้อมกับทรงให้ความหมายของคำว่า ปัญญาดังนี้
ปัญญา แปลตามพยัญชนะว่า ความรู้ทั่ว ตามอรรถะหมายความ ได้หลายอย่างอย่างหนึ่ง คือความรู้ทุกอย่าง ทั้งที่เล่าเรียนจดจำมา ที่พิจารณาใคร่ครวญคิดเห็น ขึ้นมาและที่ได้ฝึกฝนอบรมให้คล่องแคล่วชำนาญขึ้นมาในตัวเอง อีกอย่างหนึ่งเมื่อมีความรู้จัดเจนชำนาญในวิชาต่างๆ ดังว่า จะยังผลให้เกิดเป็นความเฉลียวฉลาดขึ้นในตัวบุคคล แตะประการสำคัญคือความรู้ที่ผนวกกับความเฉลียวฉลาดนั้น จะรวมกันเป็นความสามารถพิเศษขึ้น คือความรู้จริงรู้แจ้งชัด รู้ตลอดในสิ่งที่ได้มีโอกาสศึกษา ซึ่งจะให้ผลต่อไปเป็นความรู้เท่ากัน เป็นต้นว่ารู้เท่าทันความคิดจริต ทฤษฎี และเจตนาของคนทั้งปวงที่สมาคมด้วย รู้เท่าทันเหตุการณ์สภาพการณ์ทั้งหลายที่ผ่านพบ เมื่อรู้เท่าทันแล้ว ก็จะรู้จะเห็นแนวทางและวิธีการที่จะหลีกให้พ้นอุปสรรคปัญหาและความเสื่อม ความล้มเหลวทั้งปวงได้ แล้วดำเนินไปตามทางที่ถูกต้องเหมาะสม จนบรรลุความสำเร็จและความเจริญวัฒนาที่มุ่งหมายไว้ ข้าพเจ้าใคร่ขอให้บัณฑิตแต่ละคนได้ศึกษาคือสำเหนียกตระหนักใจปัญญาตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต เพื่อประโยชน์ของตนของส่วนรวมตามที่ปรารถนา...”  (๑๔ กรกฎาคม ๒๕๒๑)

กล่าวในอีกลักษณะหนึ่ง ปัญญาก็คือ
ความฉลาดสามารถคิดพิจารณาเรื่องต่างๆ สิ่งต่างๆ ได้อย่างกระจ่างแจ่มชัด ซึ่งเกิดจากจิตใจที่มั่นคงเป็นกลาง ไม่ตกอยู่ในอำนาจอคติ และช่วยให้บุคคลสามารถค้นหาสาระเหตุผลของเรื่องทั้งปวงได้อย่างถุกต้องเที่ยงตรง ทั้งสามารถจำแนกแจกแจงความผิดถูก ชั่วดี ควรไม่ควร ในกิจที่ทำ คำที่พูด เรื่องที่คิดทุกอย่างได้...”(๑๕ กรกฎาคม ๒๕๒๖)

แต่ปัญญานั้นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขั้นในตัวบุคคลได้ง่ายๆ แม้จะผ่านการศึกษาในระดับสูงๆแล้วก็ตาม ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงให้พระบรมราโชวาทชี้แนะเพิ่มเติมว่า
การใช้ความคิดอ่านที่เป็นปัญญาดังกล่าวนั้น จำเป็นต้องฝึกหัดปฏิบัติอยู่เสมอเป็นประจำ ในทุกกรณี จึงจะมั่นคงแข็งแรง มิฉะนั้นปัญญาจะไม่เกิดขึ้นให้ท่าน จะยึดถือเอาเป็นประโยชน์ได้ทันการ ดังนั้น ไม่ว่าจะมีสิ่งใดให้คิดให้ทำไม่ว่าจะประสบพบเรื่องใดปัญหาใด ขอให้พิจารณา จนรู้ชัดอยู่เสมอจงทุกคราวไป การฝึกปัญญานี้ ถ้าพากเพียรฝึกกันจิรงๆ เป็นประจำแล้ว ไม่ช้าไม่นานก็จะปฏิบัติได้เป็นปรกติหรือเป็นนิสัย...”  (๒๗ ตุลาคม ๒๕๒๑)

ไม่มีความคิดเห็น: