วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

“ความจริงใจ”

การมีสติและปัญญา แม้จะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่คู่กับความรู้เพื่อการทำงานที่ได้ผล แต่ก็ยังไม่พอเพียงสำหรับการที่จะประสบผลสำเร็จในการทำงาน ปัจเจกบุคคลจึงต้องมี ความจริงใจ ประกอบด้วย แนวคิดเช่น นี้ ปรากฏในพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งขออัญเชิญมาเป็นตัวอย่างดังนี้
ความผิดพลาดล้มเหลวของบุคคลหรืภารกิจ ต่างๆ นั้น ส่วนมากเกิดจากมูลเหตุข้อใหญ่คือความหลอกตัวเอง หลอกกันและกัน และเมื่อการทำงานโดยไม่อาศัยความจริงเป็นหลัก การดำเนินงานและการปรับปรุงแก้ไขก็ผิดพลาด ไม่อาจทำให้งาน ให้ตนเองประสบผลสำเร็จที่ดีได้ นักปฏิบัติงานเพื่อความสำเร็จและความเจริญ จึงต้องยอมรับความจริงและยึดมั่นในความจริง มีความจริงใจต่อตัวเองและต่อกันและกันอย่างมั่นคงตลอดเวลา แต่ละคนจึงจะปฏิบัติตัวปฏิบัติงานได้อย่างสะดวกใจ มั่นใจถูกต้องเที่ยงตรงตามเป้าหมายและพอเหมาะพอดี แก่ฐานะ แก่หน้าที่ แก่โอกาส พร้อมทุกอย่างได้ ยังผลให้การสร้างสรรค์ความดีความเจริญบรรลุศุภผลอันพึงประสงค์...”
(๑๕ กรกฏาคม๒๕๒๖)

ความจริงใจที่กล่าวถึงนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงให้รายละเอียดว่า มีอยู่สองลักษณะด้วยกันได้แก่
() “ความจริงใจต่อผู้ร่วมงาน ซึ่งมีลักษณะประกอบด้วยความ
      ซื่อตรงเมตตา
หวังดี พร้อมเสมอที่จะร่วมมือช่วยเหลือ และ
      ส่งเสริมกันทุกขณะ
() “ความจริงใจต่องาน มีลักษณะเป็นการตั้งสัตย์อธิษฐาน
       หรือการตั้งใจจริงที่จะทำงานให้เต็มกำลัง    กล่าวคือ
       เมื่อได้พิจารณาด้วยปัญญาเป็นที่แน่ชัดแล้ว ว่างานที่
       จะทำนั้นเป็นประโยชน์จริง ก็ตั้งสัตย์สัญญาแก่ตัวเอง
       ผูกพัน
บังคับตัวเองให้กระทำจนเต็มกำลังความรู้ความ
       สามารถ ให้ได้ผลดีที่สุด

ความจริงใจสองประการนี้ พิจารณาดูแล้ว จะเห็นว่า
เป็นปัจจัยสำคัญที่จะ
ป้องกันกำจัดปัญหาขัดแย้งและ
ความย่อหย่อนล่าช้าได้สิ้นเชิง...”



ไม่มีความคิดเห็น: