วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สัมภาษณ์กับรายการโทรทัศน์

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทานวโรกาสพิเศษ
ให้สัมภาษณ์กับรายการโทรทัศน์วู้ดดี้เกิดมาคุย
วันอาทิตย์ ที่ 10 เมษายน 2554
สถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ทีวี

จดหมายจากในหลวงถึงสมเด็จพระเทพฯ

จดหมายจากในหลวงถึงสมเด็จพระเทพฯ"
จดหมายถึง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี

6
ตุลาคม 2547 พระราชนิพนธ์:
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระราชหัตถเลขาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีไปถึงสมเด็จ พระเทพ รัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม    พุทธศักราช ๒๕๔๗
สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำเผยแพร่

ลูกพ่อในพื้นแผ่นดินนี้ ทุกสิ่งเป็นของคู่กันมาโดยตลอด มีความมืดและความ
สว่าง ความดีและความชั่ว
ถ้าให้เลือกในสิ่งที่ตนชอบแล้ว ทุกคนปรารถนา
ความสว่างปรารถนาความดีด้วยกันทุกคน
แต่ความปรารถนานั้นจักสำเร็จลงได้จักต้องมีวิธีที่จักดำเนินให้ไปถึงความสว่าง หรือ ความดีนั้น ทางที่จักต้องไปให้ถึงความดีก็คือรักผู้อื่น เพราะความรักผู้อื่น สามารถแก้ปัญหาได้ทุกปัญหา ถ้าให้โลกมีแต่ความสุขและเกิดสันติภาพ ความรักผู้อื่นจักเกิดขึ้นได้

พ่อขอบอกลูกดังนี้...
1. ขอให้ลูกมองผู้อื่นว่า เป็นเพื่อนเกิด เพื่อนแก่ เพื่อนเจ็บ เพื่อนตายด้วยกัน ทั้งหมด   ทั้งสิ้น ไม่ว่าอดีต...ปัจจุบัน...อนาคต
2.
มองโลกในแง่ดี และจะให้ดียิ่งขึ้น ควรมองโลกจากความเป็นจริง อันจักเป็นทางแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
3.
มีความสันโดษ คือ
    -
มีความพอใจเป็นพื้นฐานของจิตใจ พอใจตามมีตามได้ คือได้อย่างไรก็เอาอย่างนั้น ไม่ยึดติด ขอให้คิดว่ามีก็ดี ไม่มีก็ได้   พอใจตามกำลัง คือมีน้อยก็พอใจตามที่ได้น้อย
     -
ไม่เป็นอึ่งอ่างพองลมจะเกิดความเดือดร้อนในภายหลัง
     -
พอใจตามสมควร คือทำงานให้มีความพอใจเหมาะสมแก่งาน
     -
ให้ดำรงชีพให้เหมาะสมแก่ฐานะของตน
4.
มีความมั่นคงแห่งจิต คือให้มองเห็นโทษของความเกียจคร้านและมองเห็นคุณประโยชน์ของความเพียร และเมื่อเกิดสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาให้ภาวนาว่า...มีลาภ มียศ สุขทุกข์ปราฏ สรรเสริญนินทา เสื่อมลาภเสื่อมยศ เป็นกฎธรรมดา อย่ามัวโศกานึกว่า ' ชั่งมัน '
   พ่อ
   6/10/2547   
---------------------------------------------------------------------------------------

สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ ทรงมีพระราชปรารภทิ้งท้าย

***
ฉันหวังว่า คำสอนพ่อที่ฉันได้ประมวลมานี้ จะเกิดประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน ที่ได้พบเห็น และลูกอันเป็นที่รักของพ่อทุกคน ฉันรัก พ่อฉันจัง สิรินธร 
************************
จดหมายส่งต่อ อ่านแล้วซาบซึ้งเหลือเกิน
ทรงพระเจริญ
.............

ชาตินั้นเปรียบได้กับชีวิตคน

...  ชาตินั้นเปรียบได้กับชีวิตคน  กล่าวตามหลักความจริง  คนเราประกอบด้วย  ร่างกายส่วนหนึ่ง  จิตใจส่วนหนึ่ง  ทั้งสองส่วนคุมกันอยู่บริบูรณ์ชีวิตก็คงอยู่  ส่วนใดส่วนหนึ่งทำลายไป  ชีวิตก็แตกดับเพราะอีกส่วนหนึ่งจำต้องแตกทำลายไปด้วย  ชาติของเรานั้นมีผืนแผ่นดินและประชากรอันรวมกันอยู่เป็นส่วนของร่างกาย  มีศิลปวิทยามีธรรมเนียมประเพณี  มีความเชื่อถือและความคิดจิตใจที่จะสามัคคีกันอยู่เป็นปึกแผ่น  ซึ่งรวมเรียกว่า  "ความเป็นไทย"  เป็นส่วนจิตใจ  ชาติไทยเราดำรงมั่นคงอยู่ก็เพราะยังมีบ้านเมืองและความเป็นไทยพร้อมบริบูรณ์  แต่ถ้าความเป็นไทยของเรามีอันต้องเสื่อมสลายไปด้วยประการใดแล้ว  ชาติก็ต้องสิ้นสูญ  เพราะถึงหากบ้านเมืองและผู้คนจะยังอยู่  ก็ไม่มีสิ่งใดประสานยึดเหนี่ยวให้รวมกันอยู่ได้จะต้องแตกแยกจากกันไปในที่สุด  เหมือนส่วนต่าง ๆ  ของร่างกายที่ต้องแตกจากกันเมื่อสิ้นชีวิต ...

พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
วันที่  ๒๒  กันยายน  ๒๕๒๑

พระราชดำรัสใน ความสามัคคี

ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสในเรื่อง "ความสามัคคี" ความตอนหนึ่งว่า

"...บ้านเมืองจะมีความมั่นคงและปกติสุขอยู่ได้ ก็ด้วยนานาสถาบัน อันเป็นหลักของประเทศและคนไทยทุกหมู่เหล่า มีความสมัครสมานปรองดองกันดี และรู้จักปฏิบัติหน้าที่ให้ประสานส่งเสริมกัน ความพร้อมเพรียงของทุกฝ่าย ทุกคนที่มีความสำนึกแน่ชัดในหน้าที่ความรับผิดชอบ และต้องใจปฏิบัติตน ปฏิบัติงานให้ดีให้สอดคล้องกันนี้ ความสามัคคีในชาติ ถ้าทุกคนใจชาติจะได้ตั้งตนตั้งใจให้อยู่ในความสามัคคีดังกล่าว ประโยชน์และความสุขก็จะพึงเกิดขึ้น พร้อมทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม ประเทศชาติของเราก็จะสามารถรักษาความปกติมั่นคงพร้อมทั้งพัฒนาให้รุดหน้าไปได้"

ต้องระเบิดจากข้างใน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาคน มีพระราชดำรัสว่า
"ต้องระเบิดจากข้างใน" นั้นหมายความว่า ต้องมุ่งพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็ง
ให้คนและครอบครัวในชุมชนที่เข้าไปพัฒนาให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนา
เสียก่อน แล้วจึงค่อยออกมาสู่สังคมภายนอก มิใช่การนำเอาความเจริญจาก
สังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชนและหมู่บ้าน ซึ่งหลายชุมชนยังไม่ทันได้มีโอกาส
เตรียมตัวหรือตั้งตัว จึงไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงและ
นำไปสู่ความล่มสลายได้

รู้รักสามัคคี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสในเรื่อง "รู้ รัก สามัคคี" มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่มีคุณค่าและมีความหมายลึกซึ้ง สามารถปรับใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย
รู้  : การที่เราจะลงมือทำสิ่งใดนั้น จะต้องรู้เสียก่อน รู้ถึงปัจจัยทั้งหมด รู้ถึงปัญหา และรู้ถึงวิธีแก้ปัญหา
รัก : คือ ความรัก เมื่อเรารู้ครบถ้วนกระบวนความแล้วจะต้องมีความรัก การพิจารณาที่จะเข้าไปลงมือปฏิบัติแก้ไขปัญหานั้นๆ คือ การสร้างฉันทะ
สามัคคี : การที่จะลงมือปฏิบัติควรคำนึงเสมอว่าเราจะทำงานคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือร่วมใจกันเป็นองค์กร เป็นหมู่คณะจึงจะมีพลังเข้าไปแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

ประโยชน์ส่วนรวม

   
           การปฏิบัติพระราชกรณียกิจและการพระราชทานพระราชดำริในการพัฒนาและช่วยเหลือ
           พสกนิกรในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงระลึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ
           ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า
"...ใครต่อใครบอกว่า ขอให้เสียสละส่วนตัวเพื่อส่วน อันนี้ฟังจนเบื่อ อาจรำคาญด้วยซ้ำว่า ใครต่อใครมาก็บอกว่าขอให้คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม อาจมานึในใจว่า ให้ๆ อยู่เรื่อยแล้วส่วนตัวจะได้อะไร ขอให้คิดว่าคนที่ให้เป็นเพื่อส่วนรวมนั้น มิได้ให้ส่วนรวมแต่อย่างเดียว เป็นการให้เพื่อตัวเองสามารถที่จะมีส่วนรวมที่จะอาศัยได้..."

การมีส่วนร่วม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักประชาธิปไตย ทรงเปิดโอกาสให้ทุกฝ่าย
ทั้งสาธารณชน ประชาชน หรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับได้เข้ามาร่วมกันแสดงความคิดเห็น
และร่วมกันทำงานโครงการพระราชดำริ โดยคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนหรือ
ความต้องการของสาธารณชนด้วย ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า

 "...สำคัญที่สุดจะต้องหัดทำใจให้กว้างขวางหนักแน่น รู้จักรับฟังความคิดเห็น
แม้กระทั่งความวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นอย่างฉลาด เพราะการรู้จักรับฟังอย่างฉลาด
นั้นแท้จริงคือการระดมสติปัญญาและประสบการณ์อันหลากหลาย มาอำนวนการ
ปฏิบัติบริหารงานให้ประสบความสำเร็จที่สมบูรณ์นั่นเอง..."

"...การไปช่วยเหลือประชาชนนั้น ต้องรู้จักประชาชน
ต้องรู้ว่าประชาชนต้องการอะไร ต้องอาศัยความรู้ในการช่วยเหลือ..."

        สำหรับวิธีการมีส่วนร่วมพระองค์ทรงนำ "ประชาพิจารณ์" มาใช้ในการบริหารจัดการดำเนินงาน ซึ่งเป็นวิธีการที่เรียบง่ายตรงไปตรงมา โดยหากจะทำโครงการใดจะทรงอธิบายถึงความจำเป็นและผลกระทบที่เกิดกับประชาชนทุกฝ่าย รวมทั้งผู้นำชุมชนในท้องถิ่น เมื่อประชาชนในพื้นที่เห็นด้วยแล้ว หน่วยราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและร่วมดำเนินการมีความพร้อม จึงจะพระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินโครงการนั้นๆ ต่อไป

ทำตามลำดับขั้น

   
ในการทรงงานพระองค์จะทรงเริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นของประชาชนที่สุดก่อน ได้แก่ สาธารณสุข เมื่อมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงแล้วก็จะสามารถทำประโยชน์ด้านอื่นๆ ต่อไปได้จากนั้นจะเป็นเรื่องสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ อาทิ ถนน แหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค ที่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการให้ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีที่เรียบง่าย เน้นการปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ราษฎรสามารถนำไปปฏิบัติได้และเกิดประโยชน์สูงสุด ดังพระบรมราโชวาท เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฏาคม ๒๕๑๗ ความตอนหนึ่งว่า
"...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน ใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มสร้างความเจริญยกเศรษฐกิจให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชน โดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่างๆขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด ดังเห็นได้ที่อารยประเทศกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในเวลานี้ การช่วยเหลือสนับสนุนประชาชน ในการประกอบอาชีพและตั้งต้วให้มีความพอกิน พอใช้ก่อนอื่นเป็นพื้นฐานนั้น เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะผู้ที่มีอาชีพแลฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเอง ย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าระดับที่สูงได้ต่อไปโดยแน่นอน ส่วนการถือหลักที่จะส่งเสริมความเจริญให้ค่อยเป็นไปตามลำดับ ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลวและเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์..."

แก้ปัญหาจากจุดเล็ก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเปี่ยมไปด้วยพระอัจฉริยภาพในการแก้ไขปัญหา ทรงมองปัญหาในภาพรวม (Macro) ก่อนเสมอ แต่การแก้ปัญหาของพระองค์จะเริ่มจากจุดเล็กๆ (Micro) คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่คนมักจะมองข้าม ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า
"...ถ้าปวดหัวก็คิดอะไรไม่ออกเป็นอย่างนั้นต้องแก้ไขการปวดหัวก่อน..มันไม่ได้เป็นการแก้อาการจริงแต่ต้องแก้ปวดหัวก่อน เพื่อที่จะให้อยู่ในสภาพที่คิดได้...แบบ(Macro) นี้ เขาจะทำแบบรื้อทั้งหมด ฉันไม่เห็นด้วย...อย่างบ้านคนอยู่ เราบอกบ้านนี้มันผุตรงนั้น ผุตรงนี้ ไม่คุ้มที่จะซ่อม ...เอาตกลงรื้อบ้านนี้ ระเบิดเลย เราจะไปอยู่ที่ไหนไม่มีที่อยู่ ..วิธีทำต้องค่อยๆ ทำ จะไประเบิดหมดไม่ได้..."

เศรษฐกิจพอเพียง3


“...ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมในหลายประเทศเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ การทุ่มเทสร้างเครื่องจักรกลอันก้าวหน้า และมีประสิทธิภาพสูงขึ้นใช้ในการผลิตทำให้ผลผลิตทางอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นรวดเร็วและมากมาย จนอาจถึงขั้นฟุ่มเฟือยพร้อมกันนั้นก็ทำให้คนว่างงานลงเพราะถูกเครื่องจักรกลแย่งไปทำ เป็นเหตุให้เกิดความยุ่งยากตกต่ำทางเศรษฐกิจขึ้นเพราะคนที่ว่างงานยากจนลงและผู้ผลิตก็ขาดทุนเพราะสินค้าขายไม่ออกจึงน่าจะต้องดัดแปลงแนวคิดแนวปฏิบัติในการส่งเสริมความเจริญด้านอุตสาหกรรมไปบ้างให้สมดุลกับด้านอื่น ๆ เพื่อความอยู่รอด...”
พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า  วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๘

เศรษฐกิจพอเพียง2

“...ฉันพูดเศรษฐกิจพอเพียง ความหมายคือ ทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะของตัวเอง คือทำจากรายได้ ๒๐๐-๓๐๐ บาทขึ้นไป เป็น ๒ หมื่น ๓ หมื่นบาท คนชอบเอาคำพูดของฉัน เศรษฐกิจพอเพียงไปพูดกันเลอะเทอะ เศรษฐกิจพอเพียง คือ ทำเป็น Self-Sufficiency มันไม่ใช่ความหมาย ไม่ใช่แบบที่ฉันคิด ที่ฉันคิด คือ เป็น Self-Sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดู TV ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจำกัดเขาไม่ให้ซื้อ TV ดู เขาต้องการดูเพื่อสนุกสนาน ในหมู่บ้านไกล ๆ ที่ฉันไป เขามี TV ดู แต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า แต่ถ้า Sufficiency นั้น มี TV เขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือนคนไม่มีสตางค์ไปตัด Suit และยังใส่ Necktie Versace อันนี้ก็เกินไป...”
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๔

เศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน

“...การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกินแบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง...
...ความพอเพียงนี้ ไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก อย่างนี้ท่านนักเศรษฐกิจต่าง ๆ ก็มาบอกว่าล้าสมัยจริงอาจจะล้าสมัย คนอื่นเขาต้องมีการเศรษฐกิจที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน เรียกว่า เป็นเศรษฐกิจการค้าไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียง เลยรู้สึกว่าไม่หรูหราแต่เมืองไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่าผลิตให้พอเพียงได้...
...ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนไป ทำให้กลับเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียงไม่ต้องทั้งหมดแม้แต่ครึ่งก็ไม่ต้อง อาจจะสักเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็จะสามารถอยู่ได้ การแก้ไขอาจจะต้องใช้เวลา ไม่ใช่ง่าย ๆ โดยมากคนก็ใจร้อนเพราะเดือดร้อน แต่ถ้าทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้ก็สามารถที่จะแก้ไขได้...”
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๐

พระราชดำรัสด้านสิ่งแวดล้อม

 ...วันก่อนนี้เราพูดถึงปัญหาว่าเมืองไทยนี้ อีกหน่อยจะแห้ง ไม่มีน้ำเหลือ จะต้องไปซื้อน้ำจากต่างประเทศ ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ แต่เชื่อว่าจะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะว่าถ้าคำนวณดู น้ำในประเทศไทยที่ไหลเวียนนั้นยังมีอยู่ เพียงแต่ต้องบริหารให้ดี ถ้าบริหารให้ดีแล้ว มีเหลือเฟือ มีตัวเลขแล้ว แต่ว่ายังไม่ได้ไปแยกแยะตัวเลข เหมือนที่ได้แยกแยะตัวเลขของคาร์บอนน้ำนั้นน่ะ ในโลกมีมาก แล้วที่ใช้จริงๆ มันเป็นเศษหนึ่งส่วนหมื่นของน้ำที่มีอยู่ อาจไม่ถึง ก็ต้องบริหารให้ดีเท่านั้นเอง เดี๋ยวนี้ก็มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำนี้จะต้องใช้ให้ดี คือ น้ำนั้นมีคุณ อย่างที่เราใช้น้ำสำหรับบริโภค น้ำสำหรับการเกษตร น้ำสำหรับอุตสาหกรรม ทั้งหมดนี้ ต้องใช้น้ำที่ดี หมายความว่า น้ำที่สะอาดน้ำมีมากในโลก เป็นน้ำทะเลเป็นส่วนใหญ่ซึ่งจะใช้อย่างนี้ไม่ได้ แล้วนอกจากนั้นเดี๋ยวนี้ที่กำลังมีมากขึ้น ก็คือ น้ำเน่า จะต้องป้องกันไม่ให้มีน้ำเน่า น้ำเน่าจะมีอยู่เสมอ แต่อย่าให้น้ำเน่านั้นเป็นโทษมากเกินไป ฉะนั้นนี่เป็นอีกโครงการหนึ่ง ที่เราจะต้องปฏิบัติ แล้วก็ ถ้าไม่จัดการโดยเร็ว เราก็จะนอนอยู่ในน้ำเน่า น้ำดีจะไม่มีใช้ แม้จะไปซื้อน้ำจากต่างประเทศมาก็กลายเป็นน้ำเน่าหมด เพราะว่าเอามาใช้โดยไม่ได้ระมัดระวังถ้าเรามีน้ำ แล้วมาใช้อย่างระมัดระวังข้อหนึ่ง และควบคุมน้ำที่เสียอย่างไรอีกข้อหนึ่ง ก็อยู่ได้ เพราะว่าภูมิประเทศของประเทศไทย "ยังให้" ใช้คำว่า "ยังให้" ก็หมายความว่ายังเหมาะแก่การอยู่กินในประเทศนี้ไม่ใช่ไม่เหมาะ ที่ๆ เหมาะมากในการตั้งถิ่นฐาน แต่ว่าต้องรักษาเอาไว้ไม่ทำให้ประเทศไทยเป็นสวนเป็นนากลายเป็นทะเลทราย ก็ป้องกันได้ ทำได้พูดกันว่า ถ้าหากไปทำโครงการไฟฟ้าพลังน้ำก็จะไปทำลายป่า ทำให้เสียหายกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมต่างๆ ผู้ที่อนุรักษ์สิงแวดล้อมก็พูดอย่างนั้น อันนี้เป็นความจริง ถ้าไปทำลายป่าแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือ สนามกอล์ฟ หรือการท่องเที่ยว หรือการลักลอบตัดป่า เป็นต้น ดังนี้ข้อเสียมันเพิ่มขึ้นได้จริง แต่ว่าถ้าหากไปทำในที่ที่เหมาะสม คำนวณได้ว่าผลเสียในการตัดไม้ส่วนหจึ่งจะคุ้มกับผลได้ คือ เช่นที่บอกว่าตัดต้นไม้นั้น ทำให้คาร์บอนขึ้นไปในอากษศเป็นจำนวนเท่านั้นๆ ทำให้เกิดความระเหยของน้ำเท่านั้นๆ เราก็จะต้องมาเลือกดูว่าจะรักษาป่าไว้ หรือจะต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเมื่อใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เราจะต้องใช้อย่างหนึ่งอย่างใด อย่างมีผู้เสนอให้ไปซื้อถ่านหินจากออสเตรเลีย มาสร้างโรงไฟฟ้าใช้ไอน้ำ คือใช้ถ่านหินมาเผา เพื่อที่จะทำความร้อนและขับเทอร์ไบน์ให้เป็นไฟฟ้า คำนวณดู ที่เราจะต้องซื้อถ่านหินจากประเทศออสเตรเลียมา ก็เสียเงินเสียทองเท่าไหร่ มาเผาแล้วจะออกมาเป็นคาร์บอน เวลามาเผาสำหรับหมุนกังหันจะต้องเกิดคาร์บอนขึ้นไปเท่าไหร่ เปรียบเทียบกับที่จะเสียพลังการกำจัดคาร์บอนจากต้นไม้สัก ๓-๔ ต้น นั้นน่ะ มันคุ้มหรือเปล่า ถ้าทำไฟฟ้าด้วยพลังน้ำที่ไม่ต้องตัดต้นไม้ เพียงแต่ตัดต้นหญ้าก็คงไม่เสียหาย...

พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล
ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒

พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงตระหนักดีว่า การพัฒนาการศึกษาของเยาวชนนั้น เป็นพื้นฐานอันสำคัญของประเทศชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล ให้เป็นทุนสำหรับการศึกษาในแขนงวิชาต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาได้มีทุนออกไปศึกษา หาความรู้ต่อในวิชาการชั้นสูงในประเทศต่างๆ โดยไม่มีเงื่อนไขข้อผูกพันแต่ประการใด เพื่อที่จะได้นำความรู้นั้นๆ กลับมาใช้พัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
          H.M.K picture นอกเหนือไปจากนี้แล้ว ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการจัดทำสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนขึ้น สารานุกรมชุดนี้ มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากสารานุกรมชุดอื่นๆ ที่ได้เคยจัดพิมพ์มาแล้ว กล่าวคือ เป็นสารานุกรมอเนกประสงค์ที่บรรจุเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นสาระไว้ครบทุกแขนงวิชา โดยจัดแบ่งเนื้อหาของแต่ละเรื่องออกเป็นสามระดับ เพื่อที่จะให้เยาวชนแต่ละรุ่น ตลอดจนผู้ใหญ่ที่มีความสนใจ สามารถที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ได้ตามความเหมาะสมของพื้นฐานความรู้ ของแต่ละคน โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาวิชา การอุทิศเวลาและความรู้ เพื่อสนองพระราชดำริ โดยร่วมกันเขียนเรื่องต่างๆ ขึ้น แบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชา คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
          ทรงก่อตั้งกองทุนนวฤกษ์ ในมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อช่วยให้นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ทั้งยังพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนริเริ่มในการก่อสร้างโรงเรียนตามวัดในชนบท สำหรับที่จะสงเคราะห์เด็กยากจนและกำพร้า ให้ได้มีสถานที่สำหรับศึกษาเล่าเรียน โดยอาราธนาพระภิกษุเป็นครูสอนในวิชาสามัญต่างๆ ที่ไม่ได้ขัดต่อพระธรรมวินัย ตลอดจนช่วยอบรมศีลธรรมแก่เด็กนักเรียน ทั้งนี้ เป็นพระราชประสงค์ที่จะให้เด็กนักเรียน ได้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการศึกษาควบคู่กันไป อันจะทำให้เยาวชนของชาติ นอกจากจะมีความรู้ด้านวิชาการแล้ว ยังจะทำให้มีจิตใจที่ดี ที่ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม เพื่อที่จะได้เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติต่อไป ในอนาคต
          โรงเรียนร่มเกล้า ก็เป็นสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ในหลายจังหวัดที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริ ที่จะให้ทหารออกไปปฏิบัติภารกิจในท้องที่ทุรกันดาร ได้ทำประโยชน์ต่อชุมชน และมีส่วนช่วยเหลือประชาชนในด้านการศึกษา ตามโอกาสอันควร โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้ทหารจัดสร้างโรงเรียนขึ้นในจังหวัดนครพนม จังหวัดสกลนคร จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนสถานศึกษาสำหรับเยาวชน และยังเป็นการส่งเสริมความเข้าใจอันดี ระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารที่ไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่นั้นๆ กับราษฎรเจ้าของท้องที่อีกโสตหนึ่งด้วย ซึ่งในการดำเนินงานจัดสร้างโรงเรียน ทางฝ่ายทหารได้ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และฝ่ายศึกษาธิการ เพื่อเลือกสถานที่ตั้งโรงเรียนที่เหมาะสมกับความจำเป็นที่สุด ซึ่งปรากฎว่าราษฎรในท้องที่ที่มีการสร้างโรงเรียน ได้พากันร่วมอุทิศแรงกายช่วยในการก่อสร้าง ตลอดจนอุทิศทุนทรัพย์สมทบเป็นทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ที่จะนำไปใช้ในการก่อสร้างโรงเรียน เพื่อเป็นการโดยเสด็จพระราชกุศลด้วย และเมื่อการก่อสร้างโรงเรียนแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโรงเรียนเหล่านั้น พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า โรงเรียนร่มเกล้า ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งโรงเรียนระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นสืบราชสัตติวงศ์ต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐา เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๙ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๙ จากวันนั้นจนถึงวันนี้ เป็นเวลาเกือบ ๖๐ ปีที่พระองค์ทรงดำรงฐานะเป็นพระประมุขของชาติ เป็นระยะเวลาการครองราชย์ที่ยาวนานกว่าบูรพกษัตริย์องค์ใดในประเทศสยาม และเป็นเวลาเกือบ ๖๐ ปีนี้เอง ที่พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญาความสามารถ และพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอยู่เป็นนิจ ด้วยหวังให้มหาชนชาวสยามถึงพร้อมด้วยประโยชน์สุข ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ตั้งแต่สมัยเมื่อเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ดังพระปฐมบรมราชโองการที่ได้พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยเมื่อครั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ว่า
เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดพระองค์หนึ่งของโลก พระราชกรณียกิจของพระองค์มีมากมาย ทั้งในด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านศาสนา ด้านความมั่นคงภายในประเทศ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านศิลปะวัฒนธรรม และด้านการกีฬา แต่พระราชกรณียกิจหลักของพระองค์คือ การยกระดับสภาพความเป็นอยู่ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังท้องที่ต่างๆ พร้อมทอดพระเนตรสภาพปัญหาในท้องที่เหล่านั้นด้วยพระองค์เอง พระองค์จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละปี เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักตามภูมิภาคต่างๆ และจะทรงหาโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียงอยู่เสมอ จนอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีพื้นที่แห่งใดในประเทศไทย ที่พระองค์ไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินไปถึง
และเป็นเวลาเกือบ ๖๐ ปีนี้เอง ที่พสกนิกรชาวไทยอยู่ได้อย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มพระบารมี พระราชกรณียกิจทั้งหลายที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ที่พระองค์ทรงมีต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย

การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ตามความเข้าใจโดยทั่วไปคำว่า “ประชาธิปไตย” หมายถึง ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจหรืออำนาจของประชาชน ประเด็นหลักของประชาธิปไตย อยู่ที่ประชาชนเป็นสำคัญ จะปกครองอย่างไรให้ประชาชนมีความสุข เสมอภาคเท่าเทียม และมีเสรีภาพ ซึ่งพอจะสรุปได้เป็น 3 ลักษณะ คือ ประชาธิปไตยในฐานะเป็นอุดมการณ์โดยยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย คือ ความเสมอภาคในทางการเมือง เศรษฐกิจ มีความเท่าเทียมกัน มีเสรีภาพ และได้รับความเป็นธรรม ตามขอบเขตของกฎหมายโดยไม่เลือกการปฏิบัติ ยอมรับเสียงส่วนใหญ่และเคารพเสียงส่วนน้อย โดยอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนทุกภาคส่วน สามารถแสดงออกตามสิทธิ์ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ขั้นพื้นฐาน สามารถใช้เป็นรูปแบบการปกครอง และแบบแผนในการดำเนินชีวิตกลายเป็นวัฒนธรรมสืบเนื่องเป็นบรรทัดฐานและวิถีชีวิตของประชาชนโดยส่วนรวม

ในบรรดาประเทศต่างๆ ในโลกที่มีการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์ทั้งหมดประมาณ 29 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมีคำใช้เรียกแทนองค์พระมหากษัตริย์แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะ วัฒนธรรม ประเพณีของชาตินั้นๆ แต่คำแทนองค์พระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งบ่งบอกถึงลักษณะหน้าที่แบบต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ ซึ่ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้สรุปจำแนกได้ 5 ลักษณะ คือ

1. พระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมาจากคำว่า พระเจ้า (เทพเจ้า) กับคำว่า อยู่หัว (ผู้นำ…หัวหน้า) หมายความว่า พระเจ้าอยู่หัว ทรงมีภาระหน้าที่ของการเป็นผู้นำหรือประมุขของประเทศชาติและประชาชน

2. พระเจ้าแผ่นดิน หมายความว่า พระเจ้าแผ่นดินเป็นเจ้าของแผ่นดินทั้งประเทศ แล้วพระราชทานสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์จากที่ดินนั้นให้แก่ประชาชน และถือว่าเป็นหน้าที่ของพระเจ้าแผ่นดินที่จะต้องรักษาความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินด้วย จะเห็นว่า พระเจ้าแผ่นดินทรงต้องมีพระราชภาระหน้าที่ จะต้องทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ประเทศชาติและประชาชน

3. เจ้าชีวิต หมายความว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าชีวิตของประชาชน กล่าวคือ ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะประหารชีวิต และพระราชทานอภัยโทษจากการประหารชีวิตแก่ประชาชนได้ อันหมายความว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีหน้าที่ ที่จะต้องคุ้มครองชีวิตของประชาชน และจะต้องรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศไว้

4. ธรรมราชา หมายความว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้รักษาธรรม และปฏิบัติธรรม และด้วยหลักธรรมนี้ ทำให้เกิดความยุติธรรมขึ้นในประเทศ กล่าวคือ พระมหากษัตริย์จะต้องทรงใช้หลักธรรมเป็นแบบแผนในการปกครองประเทศชาติและประชาชน หรืออีกนัยหนึ่ง คือ พระราชดำริและพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ จะต้องอยู่ในกรอบของหลักธรรมเท่านั้น

5. พระมหากษัตริย์ หมายความว่า การเป็นนักรบ หรือจอมทัพที่ยิ่งใหญ่ในยามสงครามที่จะต้องมีป้องกันประเทศ พระมหากษัตริย์จะต้องเป็นผู้นำทางการทหารออกรบ เพื่อปกป้องคุ้มครองเอกราชของประเทศและประชาชน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ พระมหากษัตริย์ทรงมีหน้าที่ที่จะต้องให้ความคุ้มครองปลอดภัยแก่ประเทศชาติ และประชาชน

สิทธิและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย ตามตำราการเมืองและการปกครองไทยที่ใช้สอนกันมาในสถาบันการศึกษาต่างๆ และในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 พอสรุปเป็นสังเขปว่า
สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันเก่าแก่ที่อยู่คู่กับชาติไทยตลอดมานับตั้งแต่ไทยเริ่มสร้างตนเป็นชาติขึ้นมา เป็นสถาบันที่เลื่อมใสศรัทธาและฝังแน่นอยู่ในความรู้สึกของประชาชนคนไทย แทบทุกคนมาเป็นเวลาหลายร้อยปี บทบาทของพระมหากษัตริย์เปลี่ยนไปตามยุคสมัย รัฐธรรมนูญทุกฉบับบัญญัติ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในสถานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของปวงชน ผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ทรงเป็นศูนย์รวมที่ก่อให้เกิดความสามัคคีของชนในชาติไม่ว่าจะเชื้อชาติใดและศาสนาใด พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง ไม่ต้องรับผิดชอบในกิจกรรมการเมืองต่างๆ แม้ว่าจะกระทำในพระปรมาภิไธย ทรงวางพระองค์เป็นกลางทางการเมืองเสมอมา ทรงมีสิทธิที่จะให้คำเตือนในบางเรื่องบางกรณี แก่รัฐบาล รัฐสภาและศาล หรือองค์กรอื่นๆ ที่ทรงเห็นว่าถ้ากระทำไปแล้วจะเกิดผลเสียหาย ในฐานะที่ทรงดำรงตำแหน่งประมุขของประเทศจึงถือว่าเป็นสิทธิของพระมหากษัตริย์ที่จะได้รับรายงานให้ทราบถึงสถานการณ์หรือเรื่องราวบางเรื่องที่มีความสำคัญกับบ้านเมือง สิทธิ์ที่จะพระราชทานคำปรึกษาหารือ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน นำปัญหาขึ้นทูลเกล้าฯ สิทธิ์ที่จะสนับสนุนการกระทำหรือกิจการใดๆ ของรัฐหรือเอกชนได้ หากพระองค์ทรงเห็นว่ากิจการนั้นๆ เป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง เช่น โครงการตามพระราชดำริต่างๆ นอกจากนั้นยังทรงมีพระราชอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์ และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และลงพระปรมาภิไธย ในร่างกฎหมายประเภทต่างๆ เป็นต้น

พระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ แม้ว่ามิได้ทรงมีพระราชอำนาจโดยตรงอย่างแท้จริงในกิจกรรมการเมืองการปกครอง แต่ความสำคัญและประโยชน์ที่ได้รับจากพระมหากษัตริย์ มีนับเป็นอเนกประการ เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของประเทศ แผ่พระบารมีให้มีความร่มเย็นแก่อาณาประชาราษฎร์และชนต่างชาติที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ทรงเป็นศูนย์กลางแห่งเกียรติยศ และพระมหากรุณาธิคุณ ยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือน

thanet chaochon [บชร.1 KonThaiLoveKing]: ความสามัคคี

thanet chaochon [บชร.1 KonThaiLoveKing]: ความสามัคคี

รากฐานของสังคมไทย

รากฐานของสังคมไทยเป็นสังคมแบบเกษตรกรรม  ข้าว คือ
สายใยชีวิตที่สร้างความอยู่เย็นเป็นสุขมาช้านาน

“ ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษาและทดลองทำนามาบ้าง
    และทราบดีว่าการทำนานั้นมีความยากลำบาก
    และเป็นอุปสรรค์อยู่ไม่น้อย..”

พระราชปณิธานหนึ่งขององค์พระมหากษัตริย์มีอยู่ว่า   จะทำอย่างไรให้ชาวนาอยู่ได้ตามอัตถภาพ  จึงไม่ใช่เรื่องแปลกนักที่เราจะเห็นพระองค์ทรงดำเนินพระราชกรณียกิจอันเกี่ยวข้องกับการเกษตรอย่างมากมาย และยิ่งได้ทราบว่าในสวนจิตรลดา   ซึ่งเป็นเขตพระราชฐานมีทุ่งนาอันเป็นโครงการส่วนพระองค์แล้ว ยิ่งย้ำชัดว่าพระองค์ทรงให้ความสำคัญเพียงไรกับการเกษตรกรรม 
            ย้อนกลับไปในช่วงปี พุทธศักราช 2479–2502  พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญได้ว่างเว้นไป เพียงจัดให้มีพระราชพิธีพืชมงคลเท่านั้น จนกระทั่งในปี พุทธศักราช 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้     ทรงโปรดให้ฟื้นฟูพระราชพิธี จรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นอีก และปรับปรุงให้เหมาะกับยุคสมัย  และปฏิบัติสืบมามิได้ขาด  ด้วยทรงเห็นว่าเป็นการรักษาพระราชประเพณีอันดีงาม มีผลในการบำรุงขวัญและจิตใจของคนไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร
จนถึงวันนี้ เป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว ที่ความรู้ และเมล็ดพันธุ์พระราชทานจากโครงการนาข้าวสาธิต ได้แจก่ายไปยังเกษตรกร

พระมหากษัตริย์ที่ทรงศีลทรงธรรม


 ประเทศไทยของในหลวง เป็นประเทศที่สงบสุข เพราะเราได้พระมหากษัตริย์ที่ทรงศีลทรงธรรมเป็นเจ้าประเทศ พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดประชาชนของพระองค์ให้มีความสุขสงบสันติด้วยประการต่าง ๆ พระองค์ทรงสอนให้ประชาชนของพระองค์เป็นผู้มีศีลมีธรรม และช่วยกันทำให้ประเทศไทยที่พระองค์ทรงประทานให้ปวงชนชาวไทยได้อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระองค์ให้เป็นประเทศที่สงบสันติ ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศอันสมควรตามธรรมพระองค์ทรงมีพระบรมราโชวาทสอนสั่งปวงชนชาวไทย ดังนี้
“...เราประเทศไทยถ้าสามัคคีกันดี ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางที่มีเหตุผล เราเองจะเป็นที่ตั้งของความมั่นคงผาสุกของราษฎรที่เป็นประชากรแห่งประเทศนี้ เป็นตัวอย่างแก่มวลมนุษย์มวลมนุษย์ก็มนุษย์ชาตินี้เอง และประเทศอื่นก็อาจเอาอย่างบ้างก็เกิดความไม่เบียดเบียนขึ้น ความอยู่ในโลกนี้อย่างสบายพอสมควรคือไม่ใช่หรูหรา ประเทศไทยเราจะอยู่ไม่ใช่อย่างทุกคนอยู่ มีบ้านหรูหรากันทุกคนและร่ำรวยกันทุกคน แต่ว่าทุกคนก็พอมีพอกิน...”

ทรงมุ่งมั่นพัฒนาแหล่งน้ำ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์    ได้ทรงอุทิศพระองค์ประกอบพระราชกรณียกิจในทุกด้าน  ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สุขและความเจริญรุ่งเรืองของราษฎรและประเทศชาติ พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติจึงครอบคลุมไปทั่วทุกภูมิภาค การเสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร ทำให้พระองค์ทอดพระเนตร   เห็นสภาพความเป็นจริงและทรงตระหนักถึงปัญหาอันแท้จริงของราษฎรโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาของเกษตรกร ซึ่งเป็น ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
          ทรงมุ่งมั่นพัฒนาแหล่งน้ำเป็นอันดับแรก   เพราะน้ำเป็นปัจจัยแห่งการพัฒนาและการช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติ ตลอดจนสามารถบรรเทาอุทกภัยได้ และที่สำคัญก็คือ เป็นทรัพยากรที่สามารถพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ง่าย  จึงได้มีพระราชดำริให้ดำเนินการโครงการอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ที่จำเป็นทั่วประเทศ อ่างเก็บน้ำดังกล่าวทุกแห่งจะเป็นแหล่งขยายพันธุ์ปลา และกุ้งน้ำจืดซึ่งเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่สำคัญอย่างยิ่ง  การเร่งรัดพัฒนาพื้นที่ไร้ประโยชน์ให้สามารถเปิดเป็นที่ทำกินได้นั้น ก็เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาเกษตรขาดแคลนที่ดินทำกิน  และยังช่วยชะลอการบุกรุกทำลายบริเวณป่าไม้ที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ช่วยฟื้นฟูคุณภาพดินส่วนหนึ่งก็คือน้ำนั่นเอง เมื่อมีระบบชลประทานที่สมบูรณ์แบบ ก็จะสามารถเปิดขยายที่ทำกินออกไปได้อีก
ความตอนหนึ่งจากพระราชดำรัส พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2529 ว่า
"หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ไม่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้"
ซึ่งสะท้อนเห็นให้ถึงความสำคัญของน้ำเป็นอย่างมาก

โครงการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

โครงการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นโครงการพระราชดำริ โครงการหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมฉับพลันของหลายพื้นที่ในจังหวัดลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียง  คือ สระบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล   ในช่วงเดือน  สิงหาคม - ตุลาคม ของทุกปี และสำหรับในช่วงเดือน   มกราคม - พฤษภาคม  พื้นที่ในลุ่มน้ำป่าสักก็จะประสบภาวะแห้งแล้งขาดแคลนน้ำใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภค บริโภค