รากฐานของสังคมไทยเป็นสังคมแบบเกษตรกรรม ข้าว คือ
สายใยชีวิตที่สร้างความอยู่เย็นเป็นสุขมาช้านาน
“ ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ศึกษาและทดลองทำนามาบ้าง
และทราบดีว่าการทำนานั้นมีความยากลำบาก
และเป็นอุปสรรค์อยู่ไม่น้อย..”
พระราชปณิธานหนึ่งขององค์พระมหากษัตริย์มีอยู่ว่า จะทำอย่างไรให้ชาวนาอยู่ได้ตามอัตถภาพ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกนักที่เราจะเห็นพระองค์ทรงดำเนินพระราชกรณียกิจอันเกี่ยวข้องกับการเกษตรอย่างมากมาย และยิ่งได้ทราบว่าในสวนจิตรลดา ซึ่งเป็นเขตพระราชฐานมีทุ่งนาอันเป็นโครงการส่วนพระองค์แล้ว ยิ่งย้ำชัดว่าพระองค์ทรงให้ความสำคัญเพียงไรกับการเกษตรกรรม
ย้อนกลับไปในช่วงปี พุทธศักราช 2479–2502 พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญได้ว่างเว้นไป เพียงจัดให้มีพระราชพิธีพืชมงคลเท่านั้น จนกระทั่งในปี พุทธศักราช 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ ทรงโปรดให้ฟื้นฟูพระราชพิธี จรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้นอีก และปรับปรุงให้เหมาะกับยุคสมัย และปฏิบัติสืบมามิได้ขาด ด้วยทรงเห็นว่าเป็นการรักษาพระราชประเพณีอันดีงาม มีผลในการบำรุงขวัญและจิตใจของคนไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร
จนถึงวันนี้ เป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว ที่ความรู้ และเมล็ดพันธุ์พระราชทานจากโครงการนาข้าวสาธิต ได้แจก่ายไปยังเกษตรกร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น