วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การมีปัญญา2


เมื่อปัจเจกบุคคลมีปัญญาติดตัวแล้ว ก็มิบังควรประมาทปัญญาของตนเอง กล่าวคือ ต้องมีการใช้ปัญญาอยู่เสมอเป็นประจำ ทั้งนี้เพราะว่าถ้า
ไม่ใช้ปัญญาเป็นหลักทำงาน เพราะละเลยหรือเพราะนึกดูหมิ่นตัวเองว่าโง่เขลาแล้ว อคติ ความลุ่มหลง ความเพ้อฝันก็จะเข้ามาแทนที่แล้วจะหวังอะไรได้จากสิ่งเหล่านั้น นอกจากความวิบัติเสียหาย ทุกคนจึงจำเป็นต้องใช้ปัญญาตลอดเวลาและตลอดชีวิต
(๒๑ มิถุนายน ๒๕๒๑)


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้พระราชทานพระบรมราโชวาทเพื่อเป็นแนวปฏิบัติเพิ่มเติมว่า


นอกจากไม่ประมาทปัญญาตนเองแล้ว ยังประมาทปัญญาคนอื่นไม่ได้ด้วยเพราะการประมาทหมิ่นปัญญาคนอื่น ไม่ยอมทำตามความคิดและความรู้ของคนอื่นนี่แหละเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้งานต่างๆ ต้องหยุดชะงัก ต้องเริ่มต้นใหม่อยู่ร่ำไป และต้องล้มเหลวมามากกว่ามากแล้ว ผู้มีความคิดควรจะต้องเข้าใจว่า ปัญญาของผู้อื่น ที่เขาคิดมาดีแล้ว ได้ใช้มาดีแล้วในการงานนั้น ย่อมเป็นพื้นฐานอย่างดีสำหรับเรา ที่จะก่อตั้งสร้างเสริมความเจริญงอกงามมั่นคงต่อไป การประมาทปัญญาผู้อื่นจึงเท่ากับไม่ได้ใช้พื้นฐานที่มีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์ ซ้ำยังรื้อถอนออกเสียอีกด้วย ด้วยความโง่เขลา จึงจำเป็นที่จะต้องหัดนับถือปัญญาผู้อื่นกันให้เป็น เพื่องานที่ทำจักได้ดำเนินต่อเนื่องกันไปได้ไม่ติดขัดปฏิบัติง่าย และสำเร็จประโยชน์อันสมบูรณ์ตรงตามความมุ่งประสงค์ได้โดยสะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์...”
(๒๑ มิถุนายน ๒๕๒๑)
การดูถูกดูแคลนปัญญาของบุคคลอื่นจึงเป็น แนวปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง และได้ทรงแนะนำให้คนไทยโดยเฉพาะในหมู่ผู้มีการศึกษาสูงหลีกเลี่ยงการกระทำเช่นนั้น พระบรมราโชวาทในประเด็นนี้มีความสำคัญยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อปรากฏเท่าที่สามารถค้นคว้ามาได้ว่า ในวงการวิชาการและวงการศึกษาไทยไม่มีการชี้แนะในลักษณะนี้เลยและไม่มีการตระหนักถึงผลเสียที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมเชิงลบดังกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น: