วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พระมหากรุณาธิคุณ

 ตามแนวพระราชดำริของพระองค์ท่าน ฝายที่สร้าง ไม่ต้องทำให้ดี ใช้หิน ไม้ มาทำง่ายๆ ตามภูมิปัญญาของชาวบ้าน ฝายในมุมมองของนักชลประทานต้องเก็บน้ำให้อยู่ ถ้าฝายไหนเก็บไม่อยู่ถือว่าไม่ใช่ฝาย  แต่พระองค์ท่านต้องการให้ทะลวงฝายให้น้ำไหลออกมา อยากให้น้ำขังอยู่ในป่านานขึ้นเพื่อช่วยต้นไม้ที่ดูเหมือนตาย กลับมามีชีวิต หรือเมล็ดพันธุ์ที่อยู่ใต้ดินมีโอกาสงอกขึ้นมาได้ด้วยความชุ่มชื้นที่เพิ่มขึ้น  ห้วยห้องไคร้เป็นป่าธรรมชาติที่แท้จริง ไม่ต้องมีระเบียบ  ใช้เวลา 7 ปี ป่ากลับคืนมาได้ดังเดิม
        รูปแบบและลักษณะฝายนั้น ได้พระราชทานพระราชดำรัสว่า “ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายราคาประหยัด โดยใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่น แบบหินทิ้งคลุมด้วยตาข่ายปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารขนาดเล็กเป็นระยะๆ เพื่อใช้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดินทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง ต่อไปจะสามารถปลูกพันธุ์ไม้  ป้องกันไฟ พันธุ์ไม้โตเร็วและพันธุ์ไม้ไม่ทิ้งใบ เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขึ้นเป็นลำดับ ”
“..สำหรับต้นน้ำไม้ที่ขึ้นอยู่ในบริเวณสองข้างลำห้วย จำเป็นต้องรักษาไว้ให้ดี เพราะจะช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ ส่วนตามร่องน้ำและบริเวณที่น้ำซับก็ควรสร้างฝายขนาดเล็กกั้นน้ำไว้ในลักษณะฝายชุ่มชื้น แม้จะมีจำนวนน้อยก็ตามสำหรับแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมาก จึงสร้างฝายเพื่อผันน้ำลงมาใช้ในพื้นที่เพาะปลูก..”
"การแสดงความจงรักภักดีด้วยวิธีการใดๆ ก็อาจจะไร้ค่า ไร้ซึ่งความหมาย หากมิได้ปฏิบัติตามแนวพระราชดำริและดำเนินรอยตามเบื้องพระยุคลบาท"

ไม่มีความคิดเห็น: